ความสำคัญและบทบาทหน้าที่ของ “ตลาดการเงิน”

1 Min Read

ตลาดสินค้าและบริการจะเป็นตลาดระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย โดยจะทําการแลกเปลี่ยนกันระหว่างสินค้าและบริการกับเงิน ซึ่งแตกต่างกับตลาดการเงิน เนื่องจากตลาดการเงินจะเป็นตลาดระหว่างผู้ที่มีเงินทุนเหลือ (ผู้มีเงินออม) กับผู้ต้องการเงินทุนโดยมีตัวกลางคือเงินทุน นั่นเอง

ความสําคัญระหว่างตลาดการเงินและระบบเศรษฐกิจ

ตลาดการเงิน หรือ ระบบการเงินมีความสําคัญต่อระบบเศรษฐกิจในฐานะเป็นช่องทางการส่งผ่านเงินทุนจากผู้ที่มีเงินทุนเหลือไปยังผู้ต้องการเงินทุนที่จะนําเงินทุนเหล่านั ้นไปประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ เช่น การผลิตการแลกเปลี่ยนซื้อขาย การจ้างงาน เป็นต้น ตลาดการเงินจึงมีบทบาทอย่างยิ่งในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจ และเพื่อให้ตลาดการเงินแสดงบทบาทนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นไปในทิศทางที่ต้องการ รัฐบาลจึงดําเนินการกํากับดูแลระบบการเงินไทยผ่านองค์กรและหน่วยงานต่างๆ เช่น กระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เป็นต้น

บทบาทหน้าที่ของตลาดการเงินหรือระบบการเงิน

ส่งเสริมการออม (Saving Function) รายได้ส่วนที่เหลือหลังหักค่าใช้จ่าย คือ เงินออม การนําเงินออมไปลงทุนช่วยเพิ่มโอกาสในการได้รับผลตอบแทนที่สูงขึ ้นมากกว่าการเก็บเงินทุนไว้เฉยๆ

สนับสนุนการระดมเงินทุน (Liquidity Function) การระดมเงินทุนจาก ผู้มีเงินออมช่วยให้ ผู้ต้องการเงินทุนหาแหล่งเงินทุนได้เพิ่มขึ้นนอกจากเงินทุนของตนเองและสามารถระดมเงินทุนได้ในปริมาณที่มากขึ้น ผู้มีเงินออมจะแสวงหาผู้ต้องการเงินทุนที่นําเงินไปใช้ อย่างมีประสิทธิภาพ ให้ผลตอบแทนสูงในระดับของความเสี่ยงที่ยอมรับได้ ระบบการเงินจะทําหน้าที่จัดสรร และส่งผ่านทรัพยากรเงินทุนให้เกิดประโยชน์สูงสุด

เป็นคลังเพื่อรักษาความมั่งคั่ง (Wealth Function) การออม และการลงทุนของผู้มีเงินออม ผ่านระบบการเงินทําให้เกิดโอกาสในการได้รับผลตอบแทน ซึ่งถือว่าเป็นการรักษาความมั่งคั่ง หรือมูลค่าของเงินออมให้คงอยู่ ไม่เสื่อมค่าลงตามอัตราเงินเฟ้อ

บริการด้านการชําระราคา (Payment Function) การซื้อขายแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ทางการเงินกับเงินทุนระหว่างผู้มีเงินออม และผู้ต้องการเงินทุนหรือระหว่างผู้มีเงินออม ด้วยกันระบบการเงินจะช่วยในการอํานวยความสะดวกในการชําระราคาการชําระราคาในกิจกรรมอื่นๆ ซึ่งต้องใช้เงินทุน เช่น การชําระค่าสินค้าบริการก็ต้องอาศัยระบบการเงินเช่นกัน

การประเมินเครดิต (Credit Function) ผู้มีเงินออมจะให้เงินทุนแก่ ผู้ต้องการเงินทุน โดยตรงหรือให้โดยผ่านสถาบันการเงิน จะต้องมีการตรวจสอบความน่าเชื่อถือก่อนโดยการประเมินเครดิต บริษัทจัดอันดับเครดิต เป็นหน่วยงานกลางที่ทําหน้าที่นี้ การมีเครดิตที่ดีจะส่งผลต่อต้นทุนทางการเงินที่ตํ่าลง และโอกาสในการระดมเงินทุนในปริมาณที่มากสามารถทําได้ง่ายขึ้น

ช่องทางในการบริหารความเสี่ยง (Risk Function) การลงทุนของผู้มีเงินออมและการนําเงินทุนไปใช้ของ ผู้ต้องการเงินทุนมีความเสี่ยง ความเสี่ยงคือ โอกาสที่ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นเบี่ยงเบนไปจากที่คาดไว้ ความเสี่ยงที่ไม่ดีเกิดขึ้นในกรณีที่นักลงทุนได้รับผลตอบแทนตํ่ากว่าที่คาดไว้ การบริหารความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ควบคุมได้กระทําผ่านตลาดการเงิน เช่น การลงทุนใน ตราสารอนุพันธ์ เพิ่มใน portfolioของหลักทรัพย์ให้มีความเหมาะสม หรือการทําประกันภัย เป็นต้น

เป็นส่วนประกอบหนึ่งในการดําเนินนโยบายทางเศรษฐกิจของภาครัฐ (Policy Function) ในระบบการเงินมีตัวแปรทางเศรษฐกิจที่สําคัญ เช่น อัตราดอกเบี้ยราคาหลักทรัพย์ อัตราแลกเปลี่ยน การเปลี่ยนแปลงอุปสงค์ อุปทานของเงินทุน สินทรัพย์ทางการเงิน กระทบตัวแปรที่สําคัญใน ตลาดการเงิน การเปลี่ยนแปลงในตัวแปรสําคัญในตลาดการเงิน กระทบต่อตัวแปรเป้าหมายทางเศรษฐกิจ เช่น การลงทุน GDP อัตราเงินเฟ้อ การว่างงาน เป็นต้น รัฐบาลควบคุมกํากับดูแล และใช้นโยบายที่เกี่ยวข้องกับตลาดการเงิน เพื่อให้มีผลต่อตัวแปรที่สําคัญในตลาดการเงิน เพื่อให้ตัวแปรเป้ าหมายทางเศรษฐกิจเป็นไปในทิศทางที่ต้องการ ตัวอย่างเช่น การควบคุมดูแลค่าเงินบาทให้มีเสถียรภาพ (อัตราแลกเปลี่ยนในระบบ Managed Float) ไม่ให้ค่าแข็งเกินไป หรืออ่อนค่าเกินไป เพราะอาจกระทบต่อการส่งออก การนําเข้า ซึ่งเป็น ส่วนประกอบของ GDP หรือค่าเงินบาทนี้กระทบต่อปริมาณเงินตราต่างประเทศ ซึ่งกระทบต่อปริมาณเงินในประเทศอีกต่อหนึ่ง การเปลี่ยนแปลงของปริมาณเงินในประเทศ กระทบต่ออัตราดอกเบี้ย ซึ่งจะมีผลต่อการลงทุน GDP และระดับราคา ซึ่งเป็นตัวแปรเป้าหมายที่จะขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจ

ผู้เชี่ยวชาญการเงินการลงทุน ซ่าอินไทย
Author: ผู้เชี่ยวชาญการเงินการลงทุน ซ่าอินไทย

ติดตามข่าวสารการเงินการลงทุนทุกรูปแบบได้ที่นี่

Share this Article
ติดตามข่าวสารการเงินการลงทุนทุกรูปแบบได้ที่นี่