รวม 5 เงินฝากปลอดภาษี ฝากประจํา 24 เดือน ดอกเบี้ยสูงมาก

2 Min Read

สถานการณ์วิกฤต COVID-19 หลาย ๆ คนคงกำลังมองหาวิธีการออมเงินเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่สูง Za.in.th ขอเสนออีกหนึ่งทางเลือกในการออมเงินที่ดีคือ บัญชีเงินฝากปลอดภาษี ให้ดอกเบี้ยที่สูงกว่าการฝากประจำทั่ว ๆ และได้รับการยกเว้นภาษีเงินฝากอีกด้วย นักออมเงินมือใหม่ที่อยากเริ่มเก็บเงิน แค่ฝากเงินจำนวนที่เท่ากันเป็นประจำทุกเดือน ขั้นต่ำ 2 ปี ก็เป็นได้ทั้งหลักประกัน และเงินสำรองในอนาคต เงื่อนไขของบัญชีประเภทนี้เป็นอย่างไรบ้างไปดูกันเลย

เงินฝากปลอดภาษี ระยะเวลาฝาก 24 เดือน ดอกเบี้ย 2.15% ธนาคารไทยเครดิต เพื่อรายย่อย

เงินฝากปลอดภาษี ระยะเวลาฝาก 24 เดือน ดอกเบี้ย 2.15% ธนาคารไทยเครดิต เพื่อรายย่อย จำนวนเงินนำฝากขั้นต่ำ 1,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท ต้องฝากติดต่อกันทุกเดือน เดือนละ 1 ครั้ง จำนวนเงินฝากต้องเท่ากันทุกเดือน และเท่ากับยอดเงินฝากเมื่อเปิดบัญชี หากขาดฝากเกิน 2 ครั้ง ทั้งติดต่อหรือไม่ติดต่อกัน แต่นำเงินฝากครบ 24 งวด ภายในระยะเวลา 24 เดือน หรือระยะเวลาที่ธนาคารขยายงวดการฝากให้อีก จะยังได้รับอัตราดอกเบี้ยฝากปลอดภาษี แต่ไม่ได้รับสิทธิ์ยกเว้นภาษี

เงินฝากประจําปลอดภาษี 24 เดือน ดอกเบี้ย 1.90% ธนาคารไอซีบีซี (ไทย)

เงินฝากประจําปลอดภาษี 24 เดือน ดอกเบี้ย 1.90% ธนาคารไอซีบีซี (ไทย) ผู้เปิดบัญชีต้องมีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ณ วันเปิดบัญชี จำนวนเงินนำฝากขั้นต่ำ 1,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท ฝากเป็นจำนวนเต็มหลัก 500 บาท เท่านั้น เช่น 1,500 บาท 3,000 บาท 10,500 บาท ต้องฝากติดต่อกันทุกเดือน เดือนละ 1 ครั้ง จำนวนเงินฝากต้องเท่ากันทุกเดือน และเท่ากับยอดเงินฝากเมื่อเปิดบัญชี หากขาดฝากเกิน 2 ครั้ง ทั้งติดต่อหรือไม่ติดต่อกัน จะถือว่าผิดเงื่อนไข ธนาคารจะจ่ายดอกเบี้ยตามจำนวนวันที่ฝากจริง ในอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ทั่วไปตามประกาศธนาคาร ณ วันที่ทำการเปิดบัญชี และจะหักภาษี ณ ที่จ่าย 15%

เงินฝากปลอดภาษี 24 เดือน LH Smart Kids ดอกเบี้ย 1.80% ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์

เงินฝากปลอดภาษี 24 เดือน LH Smart Kids ดอกเบี้ย 1.80% ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ผู้เปิดบัญชีต้องมีอายุตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป ณ วันเปิดบัญชี สามารถเปิดบัญชีเป็นชื่อเด็กได้ โดยผู้ปกครองต้องให้ความยินยอม จำนวนเงินนำฝากขั้นต่ำ 1,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท ต้องฝากติดต่อกันทุกเดือน เดือนละ 1 ครั้ง จำนวนเงินฝากต้องเท่ากันทุกเดือน และเท่ากับยอดเงินฝากเมื่อเปิดบัญชี ดอกเบี้ยเท่ากับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือน วงเงินต่ำสุด + 0.75% (ปัจจุบัน ณ เดือนตุลาคม 2563 เงินฝากประจำ 12 เดือน ได้รับดอกเบี้ย 1.05%) กรณีที่ขาดฝาก ให้จ่ายเงินส่วนที่ขาดฝาก พร้อมกับเงินฝากในเดือนถัดไป หากขาดฝากเกิน 2 ครั้ง จะถือว่าผิดเงื่อนไข ธนาคารจะจ่ายดอกเบี้ยตามจำนวนวันที่ฝากจริง ในอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ทั่วไปตามประกาศธนาคาร ณ วันที่ทำการเปิดบัญชี และจะหักภาษี ณ ที่จ่าย

เงินฝากประจำเพิ่มค่าสบายใจ 24 เดือน ดอกเบี้ย 1.65-2.00% ธนาคารซีไอเอ็มบี (ไทย)

เงินฝากประจำเพิ่มค่าสบายใจ 24 เดือน ดอกเบี้ย 1.65-2.00% ธนาคารซีไอเอ็มบี (ไทย) เปิดบัญชีประเภทนี้ปกติจะได้ดอกเบี้ย 1.65% แต่ถ้าใช้บริการหักเงินอัตโนมัติจากบัญชีออมทรัพย์ เพื่อโอนเข้าบัญชีเงินฝากประจำเพิ่มค่าสบายใจด้วย จะได้ดอกเบี้ยเป็น 2.00% เปิดบัญชีได้ตั้งแต่อายุ 1 เดือน – 65 ปีบริบูรณ์ ณ วันเปิดบัญชี ฟรี ! ประกันคุ้มครองอุบัติเหตุส่วนบุคคล ตลอดระยะเวลาฝาก โดยได้รับความคุ้มครองเท่ากับจำนวนเงินฝากเมื่อครบระยะเวลาฝาก วงเงินสูงสุด 600,000 บาท หากผู้ฝากมีอายุเกิน 65 ปี จะไม่ได้รับความคุ้มครองประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล แต่ยังคงได้รับดอกเบี้ยเงินฝาก ตามประกาศอัตราดอกเบี้ยของธนาคาร จำนวนเงินนำฝากขั้นต่ำ 1,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท ฝากเป็นจำนวนเต็มหลัก 500 บาท เท่านั้น เช่น 1,500 บาท 3,000 บาท 10,500 บาท ต้องฝากติดต่อกันทุกเดือน เดือนละ 1 ครั้ง จำนวนเงินฝากต้องเท่ากันทุกเดือน และเท่ากับยอดเงินฝากเมื่อเปิดบัญชี หากขาดฝากเกิน 2 ครั้ง จะถือว่าผิดเงื่อนไข ธนาคารจะจ่ายอัตราดอกเบี้ยออมทรัพย์เฉพาะเงินต้นตามประกาศของธนาคารในแต่ละวัน โดยคำนวณทุกวัน และจะหักภาษี ณ ที่จ่าย 15%

เงินฝากประจำปลอดภาษี 24 เดือน ดอกเบี้ย 1.63% ธ.ก.ส.

เงินฝากประจำปลอดภาษี 24 เดือน ดอกเบี้ย 1.63% ธ.ก.ส. ผู้เปิดบัญชีต้องมีอายุตั้งแต่ 7 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ณ วันเปิดบัญชี จำนวนเงินนำฝากขั้นต่ำ 1,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท ต้องฝากติดต่อกันทุกเดือน เดือนละ 1 ครั้ง และจำนวนเงินฝากต้องเท่ากันทุกเดือน ขาดฝากได้ไม่เกิน 2 เดือน หากขาดฝากเกิน 2 ครั้ง จะถูกคัดออกจากโครงการ โดยได้รับดอกเบี้ยเท่ากับอัตราดอกเบี้ยออมทรัพย์ตั้งแต่วันที่เปิดบัญชีเงินฝาก และหักภาษี ณ ที่จ่าย

ผู้เชี่ยวชาญการเงินการลงทุน ซ่าอินไทย
Author: ผู้เชี่ยวชาญการเงินการลงทุน ซ่าอินไทย

ติดตามข่าวสารการเงินการลงทุนทุกรูปแบบได้ที่นี่

Share this Article
ติดตามข่าวสารการเงินการลงทุนทุกรูปแบบได้ที่นี่