ข้อควรพิจารณาในการทำประกันชีวิตเพื่อการลงทุน สร้างความมั่งคงในชีวิต

1 Min Read

การออม ถือได้ว่าเป็นสิ่งสำคัญในการบริหารเงิน สามารถที่จะช่วยสร้างความมั่นใจได้ว่าจะสามารถวางแผนอนาคตให้เดินไปถึงเป้าหมาย การออมหรือลงทุนในประกันชีวิตเป็นอีกหนึ่งช่องทางการสะสมเงินออมและเพิ่มโอกาสในการลงทุน นอกจากจะได้รับผลตอบแทนที่แน่นอนแล้ว แถมยังได้รับความคุ้มครองชีวิตตลอดระยะเวลากรมธรรม์ รวมถึงเพิ่มความอุ่นใจให้ครอบครัวและคนที่คุณรัก รวมถึงสิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ถือเป็นอิสระแท้จริงที่ให้คุณกำกับชีวิตได้เอง

ประกันชีวิตควบการลงทุน เป็นการสร้างความมั่นคงในด้านความคุ้มครองชีวิต พร้อมโอกาสรับผลตอบแทนจากการลงทุน ตอบโจทย์ครบทุกเป้าหมายทางการเงิน ด้วยในปัจจุบันนั้นมีหลากหลายแผนประกันที่คุณมั่นใจได้ ซึ่ง ZA.IN.TH ได้นำสิ่งที่ควรพิจารณาก่อนตัดสินใจก่อนทำประกันว่ามีอะไรกันบ้างที่ต้องพิจารณาก่อนการทำประกันชีวิตเพื่อการลงทุนอย่างยั่งยืน

1. จำนวนของวงเงินคุ้มครองที่ต้องการหรือจำเป็น

ในการที่จะทำประกับทุกๆครั้ง ต้องแยกให้ได้ก่อนว่า การทำประกันครั้งนี้ ตอบสนองความต้องการ (Want) หรือ สนองตอบความจำเป็น (Need) เพราะสำหรับบางคนอาจไม่มีความจำเป็นจะต้องทำประกันเพื่อคุ้มครองชีวิต เพราะธุรกิจและทรัพย์สินที่มีอยู่สามารถหาเงินมาเลี้ยงครอบครัวได้อย่างสบาย แต่ต้องการทำประกันชอบความแน่นอนในการสร้างหลักประกันมูลค่าสูงด้วยเงินเล็กน้อย หรือบางคนต้องดูแลพ่อแม่ที่อยู่ในวัยเกษียณอายุจากการทำงาน ไม่มีรายได้ เมื่อคำนวณดูแล้ว เงินที่ควรเตรียมพร้อมให้กับพ่อแม่ได้ใช้จ่ายหากชายหนุ่มคนนี้จากไปอยู่ที่ประมาณ 10 ล้านบาท แบบนี้เรียกว่าเป็นวงเงินคุ้มครองที่จำเป็นต้องมี ดังนั้นควรพิจารณาวงเงินคุ้มครองที่จำเป็นหรือ ต้องการเป็นอันดับแรก

2. ความสามารถในการจ่ายเบี้ยประกันอย่างต่อเนื่อง

เบี้ยประกัน เป็นเงินที่เราต้องจ่ายให้บริษัทประกันเพื่อรับความคุ้มครองตามข้อที่ 1 โดยหลักทั่วไป เบี้ยประกันที่ต้องจ่ายในแต่ละปี ไม่เกิน 15% ของรายได้ เพื่อให้มีเงินส่วนหนึ่งนำไปออมและลงทุนได้ ซึ่งสัดส่วนเงินออมและลงทุนโดยทั่วไปแนะนำที่ไม่ต่ำกว่า 15-20% ของรายได้ ดังนั้นแต่ในกรณีเบี้ยประกันของประกันชีวิตควบการลงทุน อาจพิจารณาเบี้ยประกันทั้งหมด ไม่เกิน 30%-35% ของรายได้ (15% เบี้ยประกันปกติ + 15-20% เงินออมเงินลงทุน) อย่างไรก็ตาม ก่อนพิจารณาโดยใช้อัตราส่วนนี้ ควรสำรวจรายรับ รายจ่ายของตนเองก่อน หากยังมีรายการผ่อนชำระบัตรเครดิตและอื่น ๆ อัตราส่วนที่เหมาะสมในการทำประกันอาจลดหรือเพิ่มได้

3. ศึกษารูปแบบประกันที่หลากหลาย

แบบประกันในปัจจุบันมีอยู่ทั้งหมด 5 แบบ คือ ชั่วระยะเวลา, ตลอดชีพ, สะสมทรัพย์, บำนาญ, ควบการลงทุน ในการเลือกแบบประกันเบี้องต้นควรเลือกให้เหมาะกับเวลา เช่น เหลือระยะเวลาทำงานหารายได้อีก 10 ปี ก็ควรเลือกแบบประกันที่มีภาระการจ่ายเบี้ยประกันไม่เกิน 10 ปี หรือในกรณีที่ต้องการความคุ้มครองเพียง 20 ปี ก็ควรเลือกแบบประกันที่ให้ระยะเวลาความคุ้มครองใกล้เคียง หรือในกรณีต้องการซื้ออนุสัญญาประกันสุขภาพ โรคร้ายแรงต่าง ๆ ก็อาจต้องเลือกประกันหลักที่ให้ความคุ้มครองตลอดการซื้ออนุสัญญา เป็นต้น

หลังจากที่เราพิจารณาเบื้องต้นถึงทุนประกัน เบี้ยประกัน และระยะเวลาคุ้มครองที่เหมาะสมแล้ว มาลองดูกันว่า ถ้าหากจะเปรียบเทียบระหว่าง ประกันควบการลงทุน กัน ประกันปกติ แล้วเอาเงินส่วนที่เหลือไปลงทุน แบบไหนให้ผลตอบแทนเป็นอย่างไรบ้าง
ตัวอย่าง 1 : หญิง อายุ 30 ปี ต้องการซื้อประกันชีวิตและลงทุน ทุนความคุ้มครอง 6 ล้านบาท ระยะเวลาคุ้มครอง 20 ปี

ผู้เชี่ยวชาญการเงินการลงทุน ซ่าอินไทย
Author: ผู้เชี่ยวชาญการเงินการลงทุน ซ่าอินไทย

ติดตามข่าวสารการเงินการลงทุนทุกรูปแบบได้ที่นี่

Share this Article
ติดตามข่าวสารการเงินการลงทุนทุกรูปแบบได้ที่นี่