รูปแบบการออมเพื่อการ เกษียณอายุ อย่างมีสุข

2 Min Read

เกษียณอายุ ถือเป็นเรื่องหนึ่งที่สำคัญของชีวิตมนุษย์เราทุกคน ที่ไม่ว่ายังไงเราก็ไม่มีทางที่จะหนีพ้นเลย ต้องยอมรับว่าพอเราเข้าสู่วัยทำงาน วันหนึ่งที่เราไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่าเดิม เนื่องด้วยอายุที่มากขึ้น ซึ่งการจะทำให้ชีวิตช่วง เกษียณอายุ มีความสุขเป็นปกติก็ต้องมีเงินออม ซึ่งถ้าถามว่าเราควรเริ่มออมเงินเพื่อเกษียณเมื่อไหร่ดี คำถามนี้คงตอบได้ทันทีเลยว่า “เริ่มตอนนี้” เริ่มเดี๋ยวนี้คงเป็นคำตอบที่ดีที่สุด

ถ้ายิ่งเราออมเร็วเท่าไหร่ก็จะทำให้เราออมต่อเดือนน้อยลง และโอกาสที่จะเกษียณได้ตามแผนที่ตั้งใจไว้ก็จะยิ่งสูงขึ้น เราลองมานึกตัวอย่างประกอบเรื่องการเกษียณอายุกัน เอาแบบง่ายๆไม่ต้องมีเรื่องผลตอบแทน เงินเฟ้อมาให้วุ่นวาย

รูปแบบการออมเพื่อการเกษียณของประเทศไทยปัจจุบัน ได้ขยายขอบเขตความคุ้มครองครอบคลุม ประชากรโดยทั่วไปนอกเหนือจากข้าราชการ เพื่อสร้างความสามารถในการพึ่งพาตนเองในวัยเกษียณให้ แก่ประชาชน ตามทฤษฎีระบบเงินออมของธนาคารโลก ระบบการจัดการเพื่อจ่ายเงินสําหรับวัย เกษียณให้แก่ผู้มีสิทธิรับเงิน เมื่อครบอายุเกษียณ และมีวัตถุประสงค์อย่างชัดเจนเพื่อสร้างความมั่นคงด้าน รายได้ให้แก่ผู้สูงอายุหลังเกษียณ มิให้มีมาตรฐานการดํารงชีพที่ตกต่ำเมื่อเข้าสู่ภาวะที่ไม่มีรายได้ นอกจากนี้ ยังอาจรวมถึงการจัดสิทธิประโยชน์อื่นเพิ่มเติมด้วย เช่น เงินช่วยเหลือกรณีทุพพลภาพ เจ็บป่วย และเงิน ช่วยเหลือทายาทในกรณีผู้มีสิทธิรับบํานาญเสียชีวิต เป็นต้น ทั้งนี้กองทุนการออมเพื่อการเกษียณของ ประเทศไทย มีดังนี้

1. กองทุนประกันสังคม (Social Security Fund)

เป็นระบบการออมเพื่อวัยเกษียณแรกของ ประเทศที่จัดตั้งขึ้นภายใต้พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม โดยขอบเขตความคุ้มครองส่วนหนึ่งครอบคลุมกรณีชราภาพ เป็นการออมภาคบังคับแบบกําหนดวงเงิน ผลประโยชน์ที่จะได้รับไว้แน่นอน บริหารโดยสํานักงานประกันสังคม (สปส.) โดยเริ่มให้ความคุ้มครองและ เก็บเงินสะสมจากผู้ประกันตนครั้งแรกในปี พ.ศ. 2542 เงินบํานาญชราภาพที่ผู้ประกันตนได้รับจะได้รับ การยกเว้นภาษี และผู้ประกันตนจะมีสิทธิได้รับเงินบํานาญชราภาพเต็มจํานวนต่อเมื่ออายุ 55 ปีบริบูรณ์ และเกษียณออกจากงานแล้ว รวมทั้งจะต้องจ่ายเงินสะสมแล้วไม่ต่ํากว่า 180 เดือน ไม่ว่าระยะเวลา 180 เดือน จะติดต่อกันหรือไม่ก็ตาม

2. กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ (Government Pension Fund)

จัดตั้งขึ้นภายใต้ พระราชบัญญัติกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ พ.ศ. 2539 กระทรวงการคลัง เป็นระบบบําเหน็จ นานาญของข้าราชการ 12 ประเภท ที่กําหนดอัตราเงินสะสมของสมาชิกไว้ที่อัตราร้อยละ 3 ของเงินเดือน 666ะมการกําหนดอัตราเงินสะสมของภาครัฐ (เงินสมทบ เงินประเดิมและเงินชดเชยที่เรียกว่า Defne Contribution) เข้ากองทุน กบข. ซึ่งมีหน้าที่นําเงินไปลงทุน และผลประโยชน์ที่ได้รับจากเงินลงทุนและเงิน ของสมาชิกจะถูกจัดสรรเข้าสู่บัญชีสมาชิกรายบุคคล ดังนั้นข้าราชการที่เป็นสมาชิก กบข. เมื่อออกจากงาน หรือเกษียณจะได้รับเงิน 2 ส่วน คือ (1) เงินบํานาญ จากระบบบําเหน็จบํานาญข้าราชการ กรมบัญชีกลาง และ (2) เงินในส่วน กบข. ที่มาจากเงินสะสม เงินสมทบ และผลประโยชน์ที่ได้จากการลงทุน ระบบ กบข จึงเป็นระบบบําเหน็จบํานาญแบบ Hybrid ที่ข้าราชการผู้เกษียณอายุจะได้รับเงินจากระบบบําเหน็จบํานาญ ที่แน่นอนจากรัฐบาล และได้รับเงินก้อนจาก กบข. ที่ได้ออมร่วมกันระหว่างข้าราชการและรัฐบาล เพื่อ เสริมให้ข้าราชการมีความมั่นคงด้านรายได้มากขึ้น

3. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (Provident Fund)

จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติกองทุนสํารอง เลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 (กระทรวงการคลัง) เป็นการออมภาคสมัครใจและออมร่วมกันระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง เพื่อให้ลูกจ้างได้ออมเงินไว้เพื่อการเกษียณ กองทุนมีสถานะเป็นนิติบุคคลแยกจากนายจ้าง โดยทั้งนายจ้าง และลูกจ้างจะร่วมกันแต่งตั้งคณะกรรมการกองทุนประกอบด้วยตัวแทนจากนายจ้างและลูกจ้าง คณะกรรมการจะเลือกผู้จัดการกองทุน เงินสะสมจากลูกจ้างต้องไม่ต่ํากว่าร้อยละ 2 ของเงินเดือน และไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินเดือน ส่วนเงินสมทบจากนายจ้างต้องไม่ต่ํากว่าเงินสะสมของลูกจ้าง และ ลูกจ้างจะได้รับเงินก้อนเมื่อออกจากงานหรือเกษียณโดยเงินสะสมของลูกจ้างและเงินสมทบจากนายจ้าง สามารถนําไปลดหย่อนภาษีได้ และผลประโยชน์ที่จ่ายให้นั้นก็ไม่เสียภาษี

4. กองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ (Retirement Mutual Fund)

จัดตั้งขึ้นเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2544 โดยมีวัตถุประสงค์ส่งเสริมการออมภาคสมัครใจให้กับลูกจ้างที่นายจ้างไม่มีกองทุนสํารอง เลี้ยงชีพ หรือลูกจ้างที่ต้องการจะออมเงินเพิ่มขึ้น บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมจะเสนอกองทุนรวม ในแบบความเสี่ยงต่างๆ กัน ผู้ลงทุนสามารถสับเปลี่ยนแผนการลงทุนจากกองทุนหนึ่งไปยังอีกกองทุนหนึ่ง หรือจะเปลี่ยนไปที่ผู้จัดการกองทุนอื่นก็ได้ หากผู้ลงทุนนั้นจะไถ่ถอนหน่วยลงทุนก่อนอายุครบ 55 ปี จะต้องเสียภาษี 5 ปี ก่อนวันไถ่ถอน

5. กองทุนการออมแห่งชาติ (National Savings Fund)

เป็นระบบการออมแบบสมัครใจ และเลือกออมเป็นรายเดือนหรือรายงวดได้ ทั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างหลักประกันยามชราภาพใน รูปแบบบํานาญ สร้างความเท่าเทียมและเป็นธรรมแก่ประชาชน โดยเฉพาะแรงงานที่อยู่นอกระบบ ซึ่งผู้มี สิทธิเป็นสมาชิกจะต้องเป็นบุคคลสัญชาติไทยซึ่งมีอายุไม่ต่ําว่า 15 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์ และไม่เป็นสมาชิกของกองทุนเพื่อการชราภาพใดๆ ที่มีการสมทบเงินจากรัฐหรือนายจ้าง

ผู้เชี่ยวชาญการเงินการลงทุน ซ่าอินไทย
Author: ผู้เชี่ยวชาญการเงินการลงทุน ซ่าอินไทย

ติดตามข่าวสารการเงินการลงทุนทุกรูปแบบได้ที่นี่

Share this Article
ติดตามข่าวสารการเงินการลงทุนทุกรูปแบบได้ที่นี่