COVID-19 หรือไวรัสโคโรนา กระทบระยะยาว ต่อเศรษฐกิจและสังคมทั่วโลก

1 Min Read

COVID-19 หรือไวรัสโคโรนา ที่ถือได้ว่าเป็นโรคระบาดระดับโลก (Global Pandemic) มีการแพร่ระบาดเป็นวงกว้างไปทั่วโลก แม้กระทั่งยุโรป สหรัฐ รวมทั้งประเทศไทย หลายต่อหลายประเทศก็ใช้มาตรการเข้มแบบประเทศจีนคือการปิดเมือง ซึ่งก็แน่นอนว่าส่งผลกระทบรุนแรงต่อระบบเศรษฐกิจทั่วโลก การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกและไทยในปีนี้จะมีความไม่แน่นอนสูงมาก และเศรษฐกิจโลกมีโอกาสขยายตัวต่ำกว่า 1% หลายประเทศทั่วโลกจะประสบกับภาวะถดถอยรวม ส่วนจะถึงขั้นเกิดวิกฤตการณ์เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกแบบปี 1929 ต้องดูผลกระทบ COVID-19 ไปอีกระยะหนึ่ง

ผลกระทบระยะยาวจากโรค COVID-19  ต่อเศรษฐกิจและสังคมทั่วโลกนั้นอาจจะต้องเจอกับ

– ประเทศทั่วโลกขาดดุลการคลัง และมีการก่อตัวของหนี้สาธารณะ ซึ่งจากงานวิจัยล่าสุดของ UBS พบว่ามีการขาดดุลการคลังทั่วโลกในปีนี้จะเพิ่มขึ้นเป็นอย่างน้อย 2.5% ของ GDP จากที่ขาดดุลประมาณ 0.5% ในปีที่ผ่านมา และสูงกว่าช่วงแฮมเบอร์เกอร์ที่ขาดดุล 1.5% GDP เนื่องจากมาตรการการคลังที่เพิ่มขึ้นก็ย่อมนำมาซึ่งการขาดดุลเพิ่มขึ้น
– ประสิทธิภาพของเศรษฐกิจจะลดลง เพราะการที่ภาครัฐเข้าอุ้มโดยเฉพาะธุรกิจขนาดใหญ่ ทำให้ไม่เกิด Creative destruction หรือการทำลายอย่างสร้างสรรค์ อันเป็นกระบวนการธุรกิจที่ไม่ประสบผลสำเร็จต้องล้มหายตายจากไป ทำให้ทรัพยากรจะหันไปหาภาคธุรกิจที่มีประสิทธิภาพและมีความสามารถในการแข่งขันมากขึ้น
– ดอกเบี้ยจะต่ำยาว และการถอนการอัดฉีดสภาพคล่องจะยิ่งทำได้ยากขึ้น โดยในปัจจุบัน การที่ธนาคารกลางต่างๆ โดยเฉพาะ Fed ทำ QE อย่างไม่จำกัดนั้น ส่วนหนึ่งเพื่อเป็นการเข้าสนับสนุนการขาดดุลการคลังของรัฐบาลที่มากขึ้น (Monetize fiscal deficit) ทางอ้อม ส่วนในฝั่งของยุโรปนั้น การที่ ECB ยกเลิกข้อจำกัดในการทำ QE โดยไม่จำกัดสัดส่วนการเข้าลงทุนในพันธบัตรประเทศเล็กๆ ก็จะเป็นการเข้าช่วยสนับสนุนการขาดดุลงบประมาณของประเทศขนาดเล็กที่ประสบปัญหานั่นเอง
– บทบาทของภาครัฐจะใหญ่ขึ้น ทั้งการเข้ามาเป็นผู้เล่นในภาคธุรกิจต่างๆ ผ่านการทำ Nationalization (ยึดกิจการมาเป็นของรัฐ) รวมถึงการกำกับและสอดส่องกิจการรวมถึงความเป็นอยู่ของประชาชนจะมากขึ้น (หรือบทบาท Big brother) ผ่านการใช้ระบบ Electronic Surveillance เช่น ประวัติด้านภาษี ประวัติทางการแพทย์ (Medical Record) หรือระบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ (Electronic Record) ผ่านข้อมูลในโทรศัพท์มือถือ เช่น เดินทางไปที่ไหน ทำอะไร มีความเสี่ยงจะติดโรคหรือทำผิดกฎหมายหรือไม่ ประวัติเหล่านี้จะถูกตรวจสอบง่ายขึ้น ทำให้ความเป็นส่วนตัวลดลง


– การดำเนินชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงรูปบบ ทั้งการประกอบธุรกิจ รวมไปถึงการผลิตที่จะเปลี่ยนไป มีการใช้เทคโนโลยีจะเข้ามาสู่ชีวิตประจำวันมากขึ้น ทำให้รูปแบบการทำงานแบบ Work from home หรือจากสถานที่อื่นๆ ทำได้ง่ายขึ้น ความจำเป็นในการมี Office ขนาดใหญ่จะลดลง ธุรกิจรูปแบบใหม่ๆ จะเกิดขึ้นและบางธุรกิจอาจจะตายหายไป และธุรกิจขนาดเล็กที่ไม่สามารถยืนให้ได้ในช่วงพิษเศรษฐกิจนี้ก็จะล้มหายไปเช่นกัน

ผู้เชี่ยวชาญการเงินการลงทุน ซ่าอินไทย
Author: ผู้เชี่ยวชาญการเงินการลงทุน ซ่าอินไทย

ติดตามข่าวสารการเงินการลงทุนทุกรูปแบบได้ที่นี่

Share this Article
ติดตามข่าวสารการเงินการลงทุนทุกรูปแบบได้ที่นี่