ธนาคารแห่งประเทศไทย ประกาศแล้ว มาตรการลูกหนี้ของสถาบันการเงิน เริ่ม 1 เม.ย.นี้

1 Min Read

ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัส COVID – 19 ซึ่งขยายวงกว้างไปยังประชาชนและธุรกิจในทุกภาคส่วน ส่งผลการความสามารถในการชำระหนี้ ซึ่ง 1 เมษายน 2563 ลูกหนี้ทั้งหลายเบาใจได้เลย เพราะทาง ธนาคารแห่งประเทศไทย ออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ที่ใช้บัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล เช่าซื้อ ลีสซิ่ง หรือสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย และสินเชื่อธุรกิจ SMEs ที่ยังไม่เป็นหนี้ค้างชำระเกินกว่า 90 วัน (NPL) เพื่อที่จะเป็นการลดภาระหนี้ให้กับลูกหนี้ทั้งหลายได้สามารถก้าวข้ามวิกฤตินี้ได้

ประเภทสินเชื่อ แนวทางการให้ความช่วยเหลือ
สินเชื่อบัตรเครดิต
สินเชื่อเงินสดหมุนเวียน
ลดอัตราผ่อนชำระขั้นต่ำ จากเดิม 10% เหลือ 5% (ในปี 2563-2564) 8% (ในปี 2565) 10% (ในปี 2566)
นอกจากนี้ ลูกหนี้สามารถแปลงหนี้เป็นสินเชื่อระยะยาวที่ดอกเบี้ยต่ำลงได้
สินเชื่อส่วนบุคคลที่ผ่านชำระเป็นงวด
สินเชื่อจำนำทะเบียนรถ
๐ สำหรับธนาคารพาณิชย์และสถานบันการเงินเฉพาะกิจ เลื่อนการชำระเงินต้นและดอกเบี้ยเป็นเวลา 3 เดือน
๐ สำหรับผู้ให้บริการอื่นเลือกดำเนินการระหว่าง เลื่อนการชำระเงินต้นและดอกเบี้ยเป็นเวลา 3 เดือน หรือ ลดค่างวดอย่างน้อย 30% ของค่างวดเดิมเป็นเวลา 6 เดือน
สินเชื่อเช่าซื้อ
ลิสซิ่ง
เลื่อนการชำระเงินต้นและดอกเบี้ยเป็นเวลา 3 เดือนหรือ พักชำระหนี้เงินต้นเป็นเวลา 6 เดือน
สินเชื่อบ้าน
สินเชื่อธุรกิจ SME
พักชำระเงินต้น 3 เดือน และพิจารณาลดดอกเบ้ยให่ตามสถานการณ์ของแต่ละราย

มาตรการดังกล่าวเป็นเพียงมาตรการช่วยเหลือขั้นต่ำ โดยผู้ให้บริการทางการเงินแต่ละแห่งยังมีโครงการช่วยเหลือเพิ่มเติมที่ดีกว่ามาตรการขั้นต่ำดังกล่าวสำหรับลูกหนี้ในภาคธุรกิจ และประชาชนที่ได้รับผลกระทบโดยตรง เช่น ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว โรงแรม การบิน หรือธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง ทั้งนี้ ลูกหนี้สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ website หรือโทรสอบถามได้ที่ call center ของแต่ละสถาบันการเงิน

และลูกหนี้ที่ได้รับความช่วยเหลือตามมาตรการดังกล่าว จะไม่เสียประวัติข้อมูลเครดิตในฐานข้อมูลเครดิตบูโร แต่ยังคงมีภาระการจ่ายชำระคืนหนี้ตามเงื่อนไขที่ตกลงกับผู้ให้บริการทางการเงินส่วนลูกหนี้ที่สามารถชำระหนี้ได้ตามปกติในเงื่อนไขเดิม ผู้ให้บริการทางการเงินอาจให้สิทธิประโยชน์หรือเงื่อนไขพิเศษตามความเหมาะสม เพื่อสนับสนุนให้ลูกหนี้มีวินัยทางการเงินที่ดีต่อไป

อย่างไรก็ตาม ผู้ให้บริการทางการเงินจะต้องสื่อสารการให้ความช่วยเหลือขั้นต่ำตามมาตรการนี้ และโครงการให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติมเฉพาะกลุ่ม เพื่อให้ลูกหนี้ทราบอย่างทั่วถึง รวมทั้งชี้แจงให้ลูกหนี้ทราบสิทธิประโยชน์ ,แนวทางปฏิบัติในการขอรับความช่วยเหลือ และภาระหน้าที่ในการชำระหนี้ตามมาตรการการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ใหม่ด้วย

ผู้เชี่ยวชาญการเงินการลงทุน ซ่าอินไทย
Author: ผู้เชี่ยวชาญการเงินการลงทุน ซ่าอินไทย

ติดตามข่าวสารการเงินการลงทุนทุกรูปแบบได้ที่นี่

Share this Article
ติดตามข่าวสารการเงินการลงทุนทุกรูปแบบได้ที่นี่