3 ขั้นตอนง่ายๆ ในการสร้างอิสรภาพทางการเงิน ให้ได้ตั้งแต่อายุยังน้อย

1 Min Read

การมีอิสรภาพทางการเงินเป็นสิ่งที่หลายๆคนใฝ่ฝัน ยามแก่ตัวไปมีเงินใช้จ่าย ตามต้องการอย่างสบาย โดยไม่ต้องทำงาน แต่จะดีซักแค่ไหนหากว่าเรามีอิสรภาพทางการเงินได้ตั้งแต่อายุยังน้อย ซึ่งไม่ใช่เรื่องยากเลย หากมีการวางแผนการเงินและสามารถปฏิบัติตามแผนได้อย่างมีวินัย มีเป้าหมายที่ชัดเจน อยากจะสามารถใช้ชีวิตที่สะดวกสบายมากยิ่งขึ้นได้ โดยไม่ต้องกังวลว่าเมื่อแก่ตัวไปจะอยู่อย่างไร หากใครยังไม่เริ่มวางแผนการเงิน ก็เริ่มต้นได้แล้วตั้งแต่วันนี้ เพราะออมก่อนรวยกว่าอยู่แล้ว

1. การตั้งเป้าหมายระยะสั้นระยะยาวในการสร้างความมั่นคั่งทางการเงิน

เมื่อเราเรียนจบเริ่มเข้าสู่วัยทำงานมีรายได้ประจำเป็นของตัวเองแล้ว ควรจะต้องมีการวางแผนการเก็บออมจัดสรรเงินและบริหารรายรับรายจ่ายในแต่ละเดือนให้มีความสมดุล และระยะยาวควรที่จะต้องตั้งเป้าหมายการออมเพื่อใช้ยามที่เกษียณ หรือไม่ได้ทำงานโดยเริ่มวางแผนตั้งแต่วันนี้ โดย

๐ แผนระยะสั้น คือจะต้องมีการเก็บออมอย่างน้อยให้ได้ 10 เปอร์เซ็นต์ของเงินเดือน เช่นเงินเดือน 15,000 บาท หักเงินออมทันที อย่างน้อย 1,500 บาท ซึ่งเมื่อครบ 1 ปีเราก็จะมีเงินออมอย่างน้อย 18,000 บาทเลยทีเดียว

๐ แผนระยะยาว จะต้องวางแผนว่าเมื่อยามเกษียณเราควรที่จะมีเงินใช้เท่าไหร่ เช่นเมื่ออายุ 60 ปีจะเกษียณจากการทำงาน อยากมีเงินออม 5 ล้านบาท เป็นต้น ซึ่งเป็นแผนที่ชัดเจน ทำให้เราสามารถคำนวณได้ว่าวันนี้เราจะต้องออมอย่างน้อยเดือนละกี่บาท และคาดหวังจากผลตอบแทนการออมต่อปีเท่าใดเพื่อที่จะสามารถบรรลุเป้าหมายเกษียณที่ตั้งใจไว้ 

2. เริ่มเก็บออมเงินอย่างมีวินัย

เพื่อให้แผนการดำเนินการสร้างความมั่นคงทางการเงินประสบความสำเร็จ สิ่งสำคัญที่ต้องมีคือ “ความมีวินัย” ตามแผนการเงินที่วางไว้ เช่น ต้องออมเงิน ทันทีอย่างน้อย 10% ของเงินเดือนทุกเดือน ดังนั้นเมื่อเงินเดือนมากขึ้น เงินออมก็จะเพิ่ม มากขึ้นตามไปโดยอัตโนมัติ 

3. วางแผนการลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนให้สูงขึ้น

ควรศึกษาทางเลือกในการเพิ่มผลตอบแทน ให้กับเงินออมของเรา ด้วยการนำเงินออมไป ลงทุนสินทรัพย์ทางการเงินต่างๆ เช่น ตราสารหนี้ กองทุนรวม และหุ้น เพราะ ผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้นจะช่วยย่นระยะเวลาสู่ อิสรภาพทางการเงิน ให้เร็วขึ้น แถมหาก สามารถเพิ่มจำนวนเงินออมต่อเดือนได้อีก ก็จะยิ่งบรรลุเป้าหมายได้เร็วขึ้น โดยอาจ วางแผนการลงทุน ดังนี้

ตัวอย่างเช่น ปัจจุบันเราอายุ 30 ปี มีความต้องการเงินใช้หลักเกษียณ จำนวนเงิน 5 ล้านบาท ตอนอายุ 60 ปี
เงินออมต่อเดือน อัตราผลตอบแทน จำนวนปีที่ออม อายุที่บรรลุเป้าหมาย
10,000 2 % 30 ปี 60 ปี
10,000 5 % 23 ปี 53 ปี
10,000 5 % 18 ปี 48 ปี

.

ผู้เชี่ยวชาญการเงินการลงทุน ซ่าอินไทย
Author: ผู้เชี่ยวชาญการเงินการลงทุน ซ่าอินไทย

ติดตามข่าวสารการเงินการลงทุนทุกรูปแบบได้ที่นี่

Share this Article
ติดตามข่าวสารการเงินการลงทุนทุกรูปแบบได้ที่นี่