AEON กำไรจากการขาย NPL หนุนงบไตรมาส 4/62 สินเชื่อชะลอตัว แต่มูลค่าหุ้นยังมีความน่าสนใจ

1 Min Read

การเติบโตของสินเชื่อที่ชะลอตัวและต้นทุนสินเชื่อที่สูงขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจ กำไรจากการขาย NPL หนุนผลประกอบการไตรมาส 4/62 จากที่รายงานผลประกอบการไตรมาสที่ 4 ปี 2562 ที่กำไร 955 ล้านบาทที่ได้รับการหนุนจากกำไรของการขาย npl ซึ่งมีการคาดการณ์ว่าทั้งสินเชื่อบัตรเครดิตสินเชื่อส่วนบุคคลจะสามารถทำให้รายได้ดอกเบี้ยดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้น

คาดตั้งสำรองเพิ่มขึ้นและอัตราส่วน NPL สำหรับคุณภาพสินทรัพย์ เราประเมินอัตราส่วน NPL เพิ่มขึ้น 28bp QoQ เป็น 3.77% ในขณะที่การตั้งสำรองน่าจะเพิ่มขึ้น 33% YoY และ 5% QoQ เป็น 1.9 พันล้านบาท หรือคิดเป็นต้นทุนสินเชื่อ 8.3% ในไตรมาส 4/62 เนื่องจากผลกระทบจากการระบาด ของไวรัสคาดว่าค่าใช้จ่ายเครดิตจะอยู่ที่ 7.70% ทรงตัว YoY ในปี 2563 เนื่องจาก AEONTS สามารถหักส่วนของผู้ถือหุ้นโดยตรงจากงบดุลเพื่อตั้งสำรองเพิ่มเติมตาม เกณฑ์ของ TFRS9 ในปี 2563

เน้นคุณภาพสินทรัพย์มากกว่าขายสินเชื่อซึ่งคาดว่า AEONTS จะชะลอการขายสินเชื่อและหันมามุ่งเน้นคุณภาพสินทรัพย์และลดต้นทุน คาดการณ์ว่ากำไรจะโต 7.55% YoY จากการเติบโตของสินเชื่อ 5% และ NIM ขยายตัว 21.2% ในปี 2563 ผู้บริหารตั้งเป้าหนี้สูญได้รับคืนในปี 2563 จะเติบโต 20% YoY

AEONTS : บริษัท อิออน ธนสินทรัพย์ (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) ธุรกิจกลุ่มอุตสาหกรรมธุรกิจการเงิน หมวดธุรกิจเงินทุนและหลักทรัพย์ ที่เข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มาตั้งแต่ 11 ธ.ค. 2544 ที่ราคาพาร์ 1 บาท ทุนจดทะเบียน 250,000,000 บาท จำนวนหุ้นจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 250,000,000 หุ้น ลักษณะธุรกิจ บริษัทฯ ประกอบธุรกิจหลักในการให้บริการสินเชื่อรายย่อย (Retail Finance) แก่ลูกค้า อันประกอบด้วย สินเชื่อบัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล และ สินเชื่อเช่าซื้อในรอบบัญชีที่ผ่านมา ธุรกิจที่สร้างรายได้หลักให้แก่บริษัทฯ คือ ธุรกิจบัตรเครดิต และธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคล ซึ่งมีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 36 และร้อยละ 52 ของรายได้รวม ตามลำดับ ส่วนธุรกิจสินเชื่อเช่าซื้อ มีสัดส่วนร้อยละ 2 ของรายได้รวม

ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2562 บริษัทฯ ให้บริการสินเชื่อทั้งหมดมากกว่า 3 ล้านบัญชี (รวมสินเชื่อที่อยู่ภายใต้โครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์) ในขณะที่สมาชิกที่ใช้บริการสินเชื่อมากกว่า 2 ล้านรายต่อเดือน และมีจำนวนบัตรเครดิตและบัตรสินเชื่ออื่นๆ ถึง 8.52 ล้านบัตร แบ่งเป็นบัตรเครดิต 2.62 ล้านบัตร และบัตรสมาชิก 5.90 ล้านบัตร

สำหรับช่องทางการให้บริการบริษัทฯ มีสาขาทั้งสิ้น 104 สาขาทั่วประเทศ และมีห้องรับรองลูกค้าอีก 13 แห่ง เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าผู้ถือบัตรเครดิตอิออนโกลด์ และแพลทินัม และเครื่องเบิกและชำระเงินสดอัตโนมัติ (ATMs) 440 เครื่อง ตลอดจนมีร้านค้าสมาชิกมากกว่า 4,800 แห่ง ติดตั้งในเขตกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด อีกทั้งเครือข่ายร่วมกับธนาคาร และ เคาน์เตอร์เซอร์วิส ณ เซเว่น อีเลฟเว่น รวมกว่า 62,000 แห่ง

ผู้เชี่ยวชาญการเงินการลงทุน ซ่าอินไทย
Author: ผู้เชี่ยวชาญการเงินการลงทุน ซ่าอินไทย

ติดตามข่าวสารการเงินการลงทุนทุกรูปแบบได้ที่นี่

Share this Article
ติดตามข่าวสารการเงินการลงทุนทุกรูปแบบได้ที่นี่