ความรู้การลงทุน ตอน ดัชนี PMI “ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ”

1 Min Read

ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ หรือดัชนี PMI เป็นชื่อที่ย่อมาจาก Purchasing Manager Index ถือเป็นดัชนีที่ นักเศรษฐศาสตร์และนักวิเคราะห์ทั่วโลกให้ความสำคัญ เป็นดัชนีที่ใช้เป็นตัวบ่งชี้สภาวะทางเศรษฐกิจของภาคการผลิตและบริการ เป็นตัวชี้วัดแนวโน้มของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในอนาคต ซึ่งดัชนี PMI เป็นตัวเลขที่เกิดจากการสำรวจจากผู้ประกอบการภาคเอกชน เป็นการสำรวจในระดับโลก กลุ่มประเทศ รวมถึงการสำรวจรายประเทศกว่า 30 ประเทศทั่วโลก ครอบคลุมทั้งกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วและกำลังพัฒนาที่สำคัญของโลกในทุกทวีป

ผู้ที่จัดทำดัชนี PMI ในประเทศสหรัฐฯ จัดทำโดย ISM (Institute for Supply Management) ประเทศจีนจัดทำจากทั้งภาคเอกชนและภาครัฐจัดทำโดยสถาบัน Caixin (Caixin Media Company Ltd) และ 30 ประเทศทั่วโลกจัดทำโดย IHS Markit Ltd

ตัวแปรสำหรับการคำนวณดัชนี PMI จะถ่วงน้ำหนักในสัดส่วนใน 5 ตัวแปร คือ คำสั่งซื้อใหม่, ผลผลิต, การจ้างงาน, เวลาขนส่งของวัตถุดิบ และสินค้าคงคลังวัตถุดิบ โดยหากกิจกรรมทางเศรษฐกิจ มีแนวโน้มที่จะขยายตัวในอีก 2- 3 เดือนข้างหน้า ผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อย่อมต้องเร่งสั่งซื้อวัตถุดิบตั้งแต่วันนี้ ดังนั้น หากผลสำรวจผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อบ่งชี้ว่า มีการซื้อวัตถุดิบเพิ่มมากขึ้น ย่อมแสดงถึงแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจ

ดัชนี PMI ถูกแบ่งเป็น 2 ดัชนีหลักคือ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต (Manufacturing PMI) และดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการ (Non-Manufacturing PMI หรือ Service PMI)

การตีความค่าของดัชนี PMI คือ
– ดัชนี PMI มีค่ามากกว่า 50 หมายถึง เศรษฐกิจมีแนวโน้มขยายตัวจากระดับปัจจุบัน
– ดัชนี PMI มีค่าเท่ากับ 50 หมายถึง เศรษฐกิจมีแนวโน้มคงที่จากระดับปัจจุบัน
– ดัชนี PMI มีค่าน้อยกว่า 50 หมายถึง เศรษฐกิจมีแนวโน้มหดตัวจากระดับปัจจุบัน

ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต (ISM Manufacturing PMI) ปรับตัวลงมาในเดือนล่าสุด ดัชนีปรับตัวลงมาที่ 59.8 จุด แต่อยู่เหนือ 50.0 จุด แสดงว่าในภาคการผลิตยังมีการขยายตัว มองในระยะยาวแล้ว พบว่าดัชนีมีแนวโน้มปรับตัวขึ้นและอยู่ในระดับสูงกว่า 50.0 จุด ย่อมแสดงถึงมุมมองต่อเศรษฐกิจที่ขยายตัวอย่างมาก แต่ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการ (Caixin Manufacturing PMI) ปรับตัวลงมาจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ระดับ 50.0 จุด แสดงว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงในเดือนล่าสุด หากมองภาพรวมในระยะยาว ดัชนีมีการปรับตัวลงมาอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ยังอยู่เหนือระดับ 50.0 จุด สะท้อนการขยายตัวที่ลดลงตลอดปี  สะท้อนว่าการใช้ดัชนี PMI ต้องดูทั้งแนวโน้มและการเปลี่ยนแปลงระยะยาวควบคู่ไปด้วยกัน

ผู้เชี่ยวชาญการเงินการลงทุน ซ่าอินไทย
Author: ผู้เชี่ยวชาญการเงินการลงทุน ซ่าอินไทย

ติดตามข่าวสารการเงินการลงทุนทุกรูปแบบได้ที่นี่

Share this Article
ติดตามข่าวสารการเงินการลงทุนทุกรูปแบบได้ที่นี่