แนะนำกองทุนรวมคุ้มครองเงินต้น และแบบมีประกัน

1 Min Read

บทความนี้เราจะแนะนำกองทุนรวมแบบพิเศษที่ได้ให้สิทธิประโยชน์อื่นๆแก่ผู้ถือหน่วยลงทุน นอกเหนือจากเงินปันผล (Dividend) และส่วนเกินมูลค่าหน่วยลงทุน (Capital Gain) คือ กองทุนรวมคุ้มครองเงินต้น และกองทุนรวมแบบมีประกัน เพื่อเป็นทางเลือกให้กับนักลงทุนได้เข้าศึกษาและลงทุน

กองทุนรวมคุ้มครองเงินต้น

กองทุนรวมคุ้มครองเงินต้น หรือ Principle or Capital Protection Fund หมายถึง กองทุนรวมที่มีนโนบายมุ่งลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล ตราสารหนี้ มีความเสี่ยงต่ำ คุ้มครองเงินต้นผู้ถือหน่วยลงทุน โดยการันตีว่าผู้ลงทุนาจะได้รับผลตอบแทนที่ไม่ต่ำกว่าเงินลงทุนเบื้องต้นที่ลงทุน เมื่อครบกำหนดอายุโครงการ ซึ่งมีด้วยกัน 2 แบบ คือ

กองทุนรวมคุ้มครองเงินต้น แบบ Passive คือการลงทุนในพันธบัตรหรือตราสารหนี้เป็นหลักในส่วนที่มีความเสี่ยงต่ำ ซึ่งอาจจะถือครองได้สูงถึง 90% สำหรับเงินลงทุนส่วนที่เหลือจะนำไปลงทุนในตราสารทุนที่มีความเสี่ยงมากกว่า

กองทุนรวมคุ้มครองเงินต้น แบบ Active คือการลงทุนในตราสารทุนเพิ่มขึ้น และมีการถือครองพันธบัตรหรือตราสารหนี้ในสัดส่วนที่น้อยลงหรืออาจไม่ถือครองเลยในสถานการณ์ที่ดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์สูงขึ้น โดยจะไม่ให้มูลค่าสินทรัพย์สุทธิต่ำกว่ามูลค่า ณ เริ่มต้น และในทางกลับกัน จะมุ่งลงทุนในพันธบัตรหรือตราสารหนี้เพิ่มขึ้นและลดการถือครองตราสารทุนลงหรืออาจไม่ถือครองเลยก็ได้เมื่อดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์ลดลง โดยไม่ให้มูลค่าสินทรัพย์สุทธิต่ำกว่ามูลค่า ณ เริ่มต้นเช่นกัน

กองทุนรวมแบบมีประกัน

กองทุนรวมแบบมีประกัน หรือ Guarantee Fund เป็นการลงทุน เมื่อมีการถือหน่วยลงทุนจนครบตามระยะเวลาประกันที่กำหนด แล้วบริษัทจัดการลงทุนไม่สามารถบริหารเงินลงทุนให้ได้ผลตอบแทนตามที่ระบุ ผู้รับประกันจะจ่ายเงินลงทุนหรือทั้งเงินลงทุนและผลตอบแทนคืนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนตามจำนวนเงินที่ได้รับประกันไว้ โดยอาจจ่ายเงินคืนเป็นบางส่วนหรือทั้งหมดก็ได้แล้วแต่กรณี สำหรับวัตถุประสงค์ ในการจัดตั้งกองทุนรวมประเภทนี้ ก็เหมือนกับกองทุนรวมคุ้มครองเงินต้น เป็นการเสริมสร้างความมั่นใจให้กับผู้ลงทุน ว่าเงินทุนของคุณจะไม่สูญหายไป ทั้งนี้ บริษัทจัดการลงทุนจะมอบหมายให้กับสถาบันทางการเงิน อย่างเช่น ธนาคารพาณิชย์ต่าง ๆ ทำหน้าที่เป็นผู้รับประกันการจ่ายเงินนั้น ๆ แต่เพื่อป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ที่อาจเกิดขึ้น ผู้รับประกันไม่ได้รวมถึงการรับประกันความสามารถในการชำระหนี้ของผู้รับประกันในอนาคต ดังนั้น คุณจะต้องศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ การรับประกันนั้น ๆ รายละเอียดของผู้รับประกัน รวมถึงลักษณะและรูปแบบการลงทุนด้วยว่ามีการรับประกันในลักษณะใด เป็นจำนวนมากน้อยแค่ไหน การลงทุนมีระดับความเสี่ยง หรือโอกาสได้ผลตอบแทนมากน้อยอย่างไร

ผู้เชี่ยวชาญการเงินการลงทุน ซ่าอินไทย
Author: ผู้เชี่ยวชาญการเงินการลงทุน ซ่าอินไทย

ติดตามข่าวสารการเงินการลงทุนทุกรูปแบบได้ที่นี่

Share this Article
ติดตามข่าวสารการเงินการลงทุนทุกรูปแบบได้ที่นี่