เคาะแล้ว SSF ลดหย่อนภาษีแทน LTF

1 Min Read

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติสิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับการซื้อกองทุนรวมเพื่อการออม (Super Savings Fund: SSF) รวมทั้งปรับปรุงหลักเกณฑ์การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีส าหรับการซื้อกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (Retirement Mutual Fund RMF) เพื่อทดแทนสิทธิประโยชน์ทางภาษีของกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (Long Term Equity Fund LTF)

SSF (Super Saving Funds) คือ กองทุนรวมเพื่อส่งเสริมการออมระยะยาว เป็นกองทุนที่มาทดแทนกองทุนรวมระยะยาว LTF ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีที่เริ่มใช้ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2563 เป็นต้นไป หลังจากที่กองทุน LTF ครบกำหนดใช้สิทธิลดหย่อนภาษีสิ้นสุดภายในสิ้นปี 2562 ซึ่งกองทุน SSF ที่จะเริ่มเปิดขายในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2563

สาระสำคัญของกองทุนเพื่อการออมระยะยาว SSF
1) SSF ลงทุนในหลักทรัพย์ทุกประเภท รวมถึงตราสารหนี้และกองทุนรวม ซึ่งมีความยืดหยุ่นมากกว่า LTF ที่กำหนดให้ลงทุนในหุ้นสามัญภายในประเทศ (ไม่เหมือน LTF ที่กำหนดไว้ที่หุ้นไทยไม่ต่ำกว่า 65%)
2) ระยะเวลาการถือครองไม่ต่ำกว่า 10 ปีนับตั้งแต่วันที่ซื้อต่างจาก LTF เดิมคือ 7 ปี
3) ไม่กำหนดจำนวนขั้นต่ำในการซื้อหน่วยลงทุน และไม่กำหนดเงื่อนไขในการซื้อต่อเนื่อง
4) บุคคลธรรมดาสามารถหักลดหย่อนภาษีเงินได้สำหรับเงินที่จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุน SSF ไม่เกินร้อยละ 30 ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 200,000 บาท และเมื่อรวมกับกองทุนการออมเพื่อการเกษียณอายุอื่น ๆ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
5) เงินได้จากการขายคืนหน่วยลงทุน SSF ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หากทำตามเงื่อนไขการถือครอง
6) ให้ประโยชน์ลดหย่อนภาษีเพียง 5 ปี (2563-2567) โดยหลังจากนั้นการคลังจะพิจารณาอีกที

การออมเพื่อการเกษียณของคนไทยยังอยู่ในระดับที่ต่ำ และโครงสร้างของประเทศที่เข้าสู่สังคมผู้สูงวัย อาจจะนำมาซึ่งความเสี่ยงของเศรษฐกิจไทยในอนาคต การออมที่เพียงพอและการหาผลตอบแทนจากการออมผ่านการลงทุนจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ ซึ่งในปัจจุบันการออมและการลงทุนอาจจะยังไม่มีประสิทธิผลที่เพียงพอและไม่ครอบคลุม กองทุน SSF จะเข้ามาช่วยในการขยายฐานให้เข้าถึงกลุ่มคนที่กว้างขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ให้ตระหนักถึงการลงทุนในระยะยาว

และไม่เท่านั้นยังมีนโยบายใหม่ของการลงทุนกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (Retiremant Mutual Fund : RMF) เพื่การที่จะได้ลดหย่อนภาษี อีกด้วยคือ

1. ปรับสัดส่วนในการลดหย่อนภาษีเพิ่ม จากเดิมที่ 15% เป็นไม่เกิน 30% ของเงินได้ และไม่เกิน 500,000 บาท และนับรวมกองทุนอื่นๆในวงเงินด้วย เช่น (กองทุน SSF, กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ, กองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน, กองทุนการออมแห่งชาติ, หรือเบี้ยประกันภัยสำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญ)

2. ยกเลิกกำหนดจำนวนขั้นตํ่าในการลงทุนจากเดิม 5,000 บาท เป็นเท่าไรก็ได้ ลงทุนต่อเนื่องทุกปี เว้นได้ไม่เกิน 1 ปี (ต้องถือมากกว่า 5 ปี นับวันชนวัน และถือจนถึงอายุ 55 ปีบริบูรณ์เหมือนเดิม)

 

 

ผู้เชี่ยวชาญการเงินการลงทุน ซ่าอินไทย
Author: ผู้เชี่ยวชาญการเงินการลงทุน ซ่าอินไทย

ติดตามข่าวสารการเงินการลงทุนทุกรูปแบบได้ที่นี่

Share this Article
ติดตามข่าวสารการเงินการลงทุนทุกรูปแบบได้ที่นี่