โครงการรีไฟแนนซ์และการรวมหนี้ตามมาตรการ “บ้านดี หนี้เบา” กับธนาคารออมสิน

1 Min Read

โครงการรีไฟแนนซ์และการรวมหนี้ตามมาตรการ “บ้านดี หนี้เบา” โดยใช้หลักประกันในส่วนของสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยที่มีเหลืออยู่ และไม่มีผลกระทบต่อประวัติข้อมูลเครดิตของลูกค้า เป็นการรวมหนี้บ้าน และหนี้สินเชื่อรายย่อยอื่นๆ ไว้ที่เดียวเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยในช่วงสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตามมาตรการแก้หนี้ระยะยาวด้วยการรีไฟแนนซ์ (refinance) และการรวมหนี้ (debt consolidation) โดยใช้ประโยชน์จากหลักประกันในส่วนของสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยที่มีเหลืออยู่ ลดภาระดอกเบี้ยและค่างวด ด้วยอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อรายย่อยที่ลดลงเมื่อนำมารวมหนี้ เพิ่มสภาพคล่องด้วยระยะเวลาผ่อนชำระได้นานขึ้น ไม่เสียประวัติข้อมูลเครดิตหากเจรจาปรับโครงสร้างหนี้สำเร็จตั้งแต่ก่อนเป็นหนี้เสียสินเชื่อรายย่อยที่สามารถนำมารวมหนี้กับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (Debt Consolidation) บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด สินเชื่อส่วนบุคคล/สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ และสินเชื่อทะเบียนรถยนต์เป็นประกัน

คุณสมบัติผู้กู้ โครงการรีไฟแนนซ์และการรวมหนี้ตามมาตรการ “บ้านดี หนี้เบา” ต้องเป็นลูกค้าที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 เป็นลูกหนี้บุคคลธรรมดาที่มีประวัติการชำระหนี้ที่ดี ผลิตภัณฑ์ที่เข้าเงื่อนไขของมาตรการรวมหนี้กับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ต้องไม่เป็น NPL ปัจจุบันไม่มีหนี้ค้างชำระ และยังคงมีศักยภาพในการชำระหนี้ หลักประกันคือ ที่ดินพร้อมอาคาร หรือห้องชุด ที่เป็นหลักประกันเงินกู้ตามสัญญา สินเชื่อเคหะเดิม วงเงินให้กู้สูงสุด (LTV) ไม่เกิน 100% ของราคาประเมินหลักประกัน โดยยอดหนี้ของสินเชื่อรายย่อยประเภทอื่น ที่นำมารวมหนี้ เมื่อรวมกับยอดหนี้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย จะต้องไม่เกินกว่ามูลค่าของราคาหลักประกัน ผ่อนนานสูงสุด 40 ปี อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านไม่เพิ่มจากเดิม ยกเว้นกรณีที่มีการรีไฟแนนซ์สินเชื่อบ้าน ให้เป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด สินเชื่อรายย่อยประเภทอื่นที่นำมารวมหนี้ ธนาคารจะคิดดอกเบี้ยไม่เกินอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ที่เป็นอัตราดอกเบี้ยช่วงลอยตัวตามสัญญากู้เงิน บวกร้อยละ 2 ต่อปี ตลอดอายุสัญญา

ระยะเวลาสมัครใช้บริการ โครงการรีไฟแนนซ์และการรวมหนี้ตามมาตรการ “บ้านดี หนี้เบา” ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป อนุมัติและจัดทำนิติกรรมสัญญาให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2566 1. สินเชื่อรายย่อยที่มีอยู่กับธนาคารออมสิน ธนาคารจะไม่นำดอกเบี้ยค้างของสินเชื่อรายย่อยมารวมกับยอดหนี้ ดังนั้น กรณีผู้กู้ต้องการรวมหนี้สินเชื่อรายย่อยดังกล่าว ผู้กู้ต้องชำระดอกเบี้ยค้างชำระ ค่าธรรมเนียม ค่าบริการต่างๆ และเบี้ยปรับในการให้บริการ (ถ้ามี) ให้เสร็จสิ้นก่อนจ่ายเงินกู้ สินเชื่อรายย่อยกับสถาบันการเงินอื่น ธนาคารจะทำการรวมหนี้ด้วยวิธีการรวมยอดเงินต้น และดอกเบี้ยทั้งหมด การชำระหนี้แต่ละบัญชีต้องชำระหนี้ปิดบัญชีเท่านั้น ยกเว้น สินเชื่อที่มีลักษณะเป็นเงินหมุนเวียน เช่น บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด เงินกู้เบิกเงินเกินบัญชี (OD) หากชำระหนี้ได้เพียงบางส่วนจะไม่สามารถเข้าร่วมมาตรการได้ กรณีภาระหนี้ส่วนต่างที่ไม่ได้นำมารวมกับการขอสินเชื่อในครั้งนี้ และ/หรือกรณีสินเชื่อที่นำมารวมหนี้ในครั้งนี้ มีส่วนเกินจากวงเงินกู้ที่ได้รับอนุมัติ อาทิเช่น ดอกเบี้ยค้างชำระ ค่าธรรมเนียม ค่าบริการต่างๆ และเบี้ยปรับในการให้บริการ (ถ้ามี) ฯลฯ ผู้กู้จะต้องชำระยอดหนี้ค้างชำระทั้งหมด พร้อมทั้งนำหลักฐานหรือเอกสาร ในการชำระหนี้มาแสดงในวันที่ทำสัญญากู้เงิน ผู้เข้าร่วมโครงการต้องลงนามในสัญญากู้เงิน และจดทะเบียนจำนองหลักประกันตามหลักเกณฑ์ของธนาคาร โดยผู้เข้าร่วมโครงการต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่น ค่าใช้จ่ายในการประเมินราคาหลักประกัน,ค่าอากรแสตมป์, ค่าใช้จ่ายในการจดจำนอง และอื่นๆ (ถ้ามี) กรณีผู้เข้าร่วมโครงการผิดนัดชำระหนี้ ธนาคารสามารถเรียกเก็บอัตราดอกเบี้ยผิดนัด ค่าบริการ เบี้ยปรับ ที่เกิดจากการผิดนัดได้ รวมทั้งสามารถดำเนินการทางกฏหมายเพื่อบังคับหลักประกันที่จำนองเพื่อชำระหนี้ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ ในสัญญากู้เงินและสัญญาจำนองหลักเกณฑ์เงื่อนไขอื่นๆ ให้เป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด โดยธนาคารขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลง หลักเกณฑ์เงื่อนไข โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า

ธนาคารออมสิน มีสถานะรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงการคลัง เป็นธนาคารเพื่อลูกค้ารายย่อย เน้นการให้สินเชื่อเพื่อพัฒนาชนบท พัฒนาผู้ประกอบการรายย่อย โดยมีรูปแบบของสินเชื่อและชนิดการฝากเงินรายย่อยมากมาย อีกทั้งยังสร้างเงินทุนหมุนเวียนในกลุ่มชุมชน โครงการธนาคารเพื่อประชาชน โดยให้สินเชื่อระยะสั้น แก่ผู้ประกอบการรายย่อย

สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ GSB Contact Center 1115 หรือติดตามข้อมูลข่าวสารได้ที่ www.gsb.or.th และ Facebook: GSB Society

ผู้เชี่ยวชาญการเงินการลงทุน ซ่าอินไทย
Author: ผู้เชี่ยวชาญการเงินการลงทุน ซ่าอินไทย

ติดตามข่าวสารการเงินการลงทุนทุกรูปแบบได้ที่นี่

Share this Article
ติดตามข่าวสารการเงินการลงทุนทุกรูปแบบได้ที่นี่