แนะนำวิธีการวางแผนการเงินก่อนที่จะเกษียณ

1 Min Read

การวางแผนการเงินก่อนที่จะเกษียณ ถือเป็นเรื่องสำคัญและไม่ควรมองว่าเป็นเรื่องไกลตัว เพราะยุคสมัคนี้คนทำงานหลายคนให้ความสนใจในการวางแผนการเกษียณคนทำงานทุกวันนี้ เริ่มทำงานตอนอายุ 20 นิด ๆ แต่เผลอแป๊บเดียวเงยหน้ามาอีกทีก็อายุ 40 จนต้องวางแผนเกษียณเสียแล้ว และจะเริ่มต้นอย่างไรหากยังไม่เคยคิดถึงเรื่องนี้มาก่อน ยิ่งถ้าใครปล่อยเวลาไปอีก เผลอแป๊ปเดียว อ้าว มารู้ตัวอีกทีอีก 5 ปี ก็จะเกษียณแล้ว คงไม่ดีแน่ ถ้าเมื่อถึงวันนั้น คุณเปิดสมุดบัญชีดูยอดเงินฝากแล้ว กลับไม่แน่ใจว่าเงินที่มีจะเพียงพอสำหรับการใช้จ่ายในช่วงบั้นปลายของชีวิตหรือเปล่า สาเหตุเป็นเพราะเราอาจยังไม่รู้ว่าจะวางแผนเกษียณเริ่มอย่างไร ยิ่งอายุ 40 แล้วแต่ยังไม่ได้วางแผนเกษียณเลยจะเริ่มตอนนี้ยังจะทันหรือไม่? ดังนั้นอย่าปล่อยให้เวลาล่วงเลยไปจนทำให้เรื่องเกษียณเป็นเรื่องที่น่ากลัว ด้วยการวางแผนการเงินเพื่อการเกษียณกันตั้งแต่วันนี้ โดยต้องวางเป้าหมายการเกษียณ ตั้งคำถาม เลือกเครื่องมือในการลงทุนและเริ่มออมได้

วางเป้าหมายการเกษียณและตั้งคำถามให้กับตัวเอง

โดยเป้าหมายที่ควรคำนึงถึงได้แก่ อายุที่จะเกษียณ หากยังคิดไม่ออกว่าวางแผนเกษียณเริ่มอย่างไร ลองมาเริ่มที่อายุที่เราตั้งใจจะเกษียณหรือหยุดทำงานก่อน ปัจจุบันนี้หน่วยงานส่วนมากในประเทศไทย กำหนดอายุเกษียณที่ 60 ปี จำนวนปีหลังเกษียณ ช่วงชีวิตโดยเฉลี่ยของผู้ชายคือ 72 ปี และของผู้หญิงคือ 75 ปี ซึ่งมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นเนื่องจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการแพทย์ รายจ่ายในวัยเกษียณ หากว่าเรายังไม่รู้ว่าวางแผนเกษียณเริ่มอย่างไร ลองประเมินค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ก่อน ได้แก่ ค่าใช้จ่ายต่อเดือน โดยเทียบจากค่าใช้จ่ายในปัจจุบันนี้ หลังเกษียณเราอาจจะมีค่าใช้จ่ายที่ลดลงนิดหน่อย เพราะน่าจะใช้เวลาอยู่บ้านมากขึ้น ทั้งนี้ทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับไลฟ์สไตล์ส่วนบุคคล ค่ารักษาพยาบาลต่อเดือน งบอื่น ๆ เช่น งบท่องเที่ยว งานอดิเรกต่าง ๆ รายได้หลังจากเกษียณจากระบบสวัสดิการ (ถ้ามี) เช่น ข้าราชการที่เป็นสมาชิกกองทุนจะมีเงินบำนาญจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือสวัสดิการจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ที่ลูกจ้างและนายจ้างสมัครใจร่วมกันสมทบเข้ากองทุน หรือสวัสดิการจากกองทุนประกันสังคมประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ จากเป้าหมายที่เราวางแผนไว้ในข้อแรก เราจะนำมาใช้ในการตั้งคำถาม ถ้าเราอายุ 40 จะวางแผนเกษียณ ตอนนี้เราเหลือเวลาทำงานอีกกี่ปี ตลอดชีวิตหลังเกษียณ เรามีส่วนต่างของรายรับจากสวัสดิการ และรายจ่ายเป็นเท่าไหร่ เพื่อที่เติมเต็มเงินส่วนต่าง เราต้องออมเงินเดือนละเท่าไร และผลตอบแทนจากการออมควรจะเป็นเท่าไร

เลือกเครื่องมือในการลงทุนและเริ่มออมกันเลย

มาเลือกหาเครื่องมือที่น่าจะให้ผลตอบแทนในอัตราที่เราต้องการ อาทิเช่น กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือ “RMF” เป็นอีกหนึ่งช่องทางการลงทุนอย่างมีวินัยสำหรับผู้ที่มีสวัสดิการ และผู้ที่ไม่มีสวัสดิการหลังเกษียณ กองทุน RMF มีให้เลือกได้หลายรูปแบบ หลายนโยบาย การซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิต ผลตอบแทนจากการทำกรมธรรม์ประกันชีวิตอาจจะไม่แตกต่างมากเมื่อเทียบกับเงินฝากธนาคาร โดยประโยชน์หลักของการทำประกันคือ การออมเงินแบบมีวินัยเพราะเราต้องจ่ายเบี้ยประกันอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงสิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนภาษี การลงทุนในกองทุนรวม พันธบัตร หุ้นกู้ หุ้นสามัญ เงินฝากธนาคาร ซึ่งมีอัตราผลตอบแทนที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับความเสี่ยงในระดับที่แตกต่างกัน การลงทุนที่ได้ผลตอบแทนมากมักจะมาพร้อมกับความเสี่ยงที่สูงกว่า เมื่อมีเป้าหมายที่ชัดเจน และเลือกเครื่องมือการลงทุนได้แล้ว เราก็เริ่มดำเนินการออมเงินได้ทันทีเลยครับ ไม่ว่าเราจะอายุ 40 หรือเท่าไหร่ก็ทำตามที่เราวางแผนเกษียณได้เลย อย่างไรก็ตาม ก่อนการลงทุนทุกครั้งเราควรศึกษารายละเอียดก่อนการตัดสินใจทุกครั้ง

ตัวอย่างการลงทุนกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ

KTMSEQ กองทุนเปิดกรุงไทยหุ้น Mid-Small Cap กองทุนจะเน้นลงทุนในตราสารทุนของบริษัทขนาดกลางและหรือขนาดเล็กที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและหรือ ตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอไอที่มีปัจจัยพื้นฐานดี และหรือ มีแนวโน้มการเติบโตทางธุรกิจ โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพยสินสุทธิของกองทุน จากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด (มหาชน)

ASP-SME กองทุนเปิด แอสเซทพลัส สมอล แอนด์ มิด แคป อิควิตี้ กองทุนมีนโยบายที่จะลงทุนในตราสารทุนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ/หรือตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ ที่มีปัจจัยพื้นฐานดี และ/หรือมีแนวโน้มการเจริญเติมโตทางธุรกิจ โดยเน้นลงทุนในตราสารทุนของบริษัทขนาดกลางและขนาดเล็ก จากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน แอสเซท พลัส จำกัด

M-MIDSMALL-D กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี มิด สมอล แค็ป เน้นลงทุนในตราสารแห่งทุนของบริษัทขนาดกลางและขนาดเล็กที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ/หรือตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ ที่มีปัจจัยพื้นฐานดี และมีแนวโน้มการเจริญเติบโตสูงในระยะปานกลางถึงระยะยาว โดยมีอัตราส่วนการลงทุนโดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ จาก บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนเอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน)

ผู้เชี่ยวชาญการเงินการลงทุน ซ่าอินไทย
Author: ผู้เชี่ยวชาญการเงินการลงทุน ซ่าอินไทย

ติดตามข่าวสารการเงินการลงทุนทุกรูปแบบได้ที่นี่

Share this Article
ติดตามข่าวสารการเงินการลงทุนทุกรูปแบบได้ที่นี่