แนะนำแอพผู้ช่วยสำหรับการยื่นภาษี “RD Smart tax application” ‘คำนวณภาษี’ ฟรี ก่อน ‘ยื่นภาษี สามารถยื่นได้ถึง 30 มิ.ย.64

1 Min Read

แนะนำแอพผู้ช่วยสำหรับการยื่นภาษี “RD Smart tax application” ‘คำนวณภาษี’ ฟรี ก่อน ‘ยื่นภาษี สามารถยื่นได้ถึง 30 มิ.ย.64

คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบการขยายเวลาการยื่นแบบและชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และภาษีมูลค่าเพิ่มที่ยื่นผ่านอินเทอร์เน็ต ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับปีภาษี 2563 (แบบ ภ.ง.ด.90 แบบ ภ.ง.ด.91) ที่ต้องยื่นแบบภายในวันที่ 31 มีนาคม 2564 ให้ขยายเวลาออกไปถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2564 เฉพาะแบบที่ยื่นผ่านอินเทอร์เน็ต ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (แบบ ภ.ง.ด.1 แบบ ภ.ง.ด.2 แบบ ภ.ง.ด.3 แบบ ภ.ง.ด.53 และ แบบ ภ.ง.ด.54) ขยายเวลาการยื่นแบบถึงวันสุดท้ายของเดือนที่ต้องยื่นแบบ โดยให้เริ่มขยายเวลาสำหรับการยื่นแบบในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ถึงเดือนมิถุนายน 2564 เฉพาะแบบที่ยื่นผ่านอินเทอร์เน็ต ภาษีมูลค่าเพิ่ม (แบบ ภ.พ.30 แบบ ภ.พ.36) ขยายเวลาการยื่นแบบถึงวันสุดท้ายของเดือนที่ต้องยื่นแบบ โดยให้เริ่มขยายเวลาสำหรับการยื่นแบบในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ถึงเดือนมิถุนายน 2564 เฉพาะแบบที่ยื่นผ่านอินเทอร์เน็ต

Za.in.th จึงขอแนะนำแอพผู้ช่วยสำหรับการยื่นภาษี  ‘คำนวณภาษี’ ฟรี ก่อน ‘ยื่นภาษี’ด้วย RD Smart tax application บริการคำนวณภาษี “กรมสรรพากร” อำนวยความสะดวกให้ “ผู้เสียภาษี” และ “บุคคลทั่วไป” คำนวณภาษีเบื้องต้นผ่านสมาร์ทโฟน ทั้งระบบ iOS และ Android เพื่อเตรียมตัว “ยื่นภาษี63” “RD Smart tax” มีบริการ E-FILING” ช่วยอำนวยความสะดวกให้ยื่นภาษีออนไลน์ได้ผ่านสมาร์ทโฟน พร้อมตัวช่วยบริหารจัดการภาษี

RD Smart Tax มิติใหม่ของการให้บริการธุรกรรมภาครัฐจากกรมสรรพากร อำนวยความสะดวกให้ผู้เสียภาษีและบุคคลทั่วไป เพื่อชีวิตที่ง่ายขึ้นในการบริหารจัดการภาษี RD-NEWS อัพเดทเรื่องราว กฎหมายใหม่จากสรรพากร ง่าย เพียงปลายนิ้ว มี E-BOOK ดาวน์โหลดวารสาร ความรู้ภาษีสรรพากร ง่ายต่อการศึกษา E-FILING ยื่นภาษีออนไลน์ ง่ายนิดเดียว พร้อมตัวช่วยบริหารจัดการภาษี RD-MAP ผู้ช่วยค้นหาตำแหน่งที่ตั้งสรรพากร และหน่วยรับชำระภาษีแบบง่ายๆ

ข้อจำกัด สำหรับการคำนวณภาษีผ่านแอพพลิเคชั่น “RD Smart tax” คือทำได้เฉพาะผู้ที่มีภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา(ภ.ง.ด.91) เท่านั้น หมายความว่าต้องมีรายได้ตามมาตรา 40 (1) คือเงินได้ประเภทเงินเดือน โบนัส เพียงอย่างเดียว ฉะนั้น หากใครมีรายได้หลายช่องทาง เช่น เงินปันผล ค่าจ้างจากรายได้พิเศษ ค่าลิขสิทธิ์ ฯลฯ รวมถึงการหักลดหย่อนภาษีบางรายการที่ยังไม่ครอบคลุม จะต้องยื่นผ่านช่องทางอื่นแทน อย่างช่องทางหลักในเว็บไซต์ของกรมสรรพากร www.rd.go.th โดยสามารถดูรายละเอียดการยื่นภาษีออนไลน์ หรือ คลิกที่นี่

ผู้เชี่ยวชาญการเงินการลงทุน ซ่าอินไทย
Author: ผู้เชี่ยวชาญการเงินการลงทุน ซ่าอินไทย

ติดตามข่าวสารการเงินการลงทุนทุกรูปแบบได้ที่นี่

Share this Article
ติดตามข่าวสารการเงินการลงทุนทุกรูปแบบได้ที่นี่