สิ่งที่จะทำให้นักลงทุน RMF ไม่ประสบความสำเร็จในการลงทุน

1 Min Read

RMF : Retirement Mutual Fund หรือ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ เป็นกองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อสนับสนุนให้คนไทยเก็บออมระยะยาวเพื่อเอาไว้ใช้จ่ายในยามเกษียณอายุ คล้ายๆ กับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) ของเอกชน และกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ของข้าราชการ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ กองทุนรวมที่ภาครัฐส่งเสริมให้มีการออมอย่างสม่ำเสมอ เพื่อการใช้จ่ายยามเกษียณ โดยผู้ลงทุนจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีตามที่กฎหมายกำหนด RMF เหมาะกับผู้ที่ไม่มีสวัสดิการออมเงินเพื่อวัยเกษียณมารองรับ ผู้ที่มีสวัสดิการแล้วแต่ต้องการออมเพิ่ม ผู้ที่มีรายได้ต้องเสียภาษี

วันนี้ ZA.IN.TH ก็จะมาแนะนำซึ่ง RMF ในอีกมุมมองคือ พฤติกรรมที่จะทำให้คุณพลาดโอกาสสร้างความมั่งคั่งหลังเกษียณ

ไม่สนใจเรื่องบริหาร RMF ให้เหมาะกับภาวะตลาด

ประเด็นสำคัญที่เป็นอุปสรรคลดทอนความสามารถในการสร้างกำไรให้กับ RMF มากที่สุดเรื่องหนึ่งนั่นก็คือ การไม่สนใจบริหาร RMF ให้เหมาะกับภาวะตลาด โดยจะพบได้ว่าคนที่ลงทุนใน RMF ส่วนหนึ่งมักคิดว่า หลังจากซื้อ RMF แล้วก็ไม่ต้องจัดการอะไรต่อ ทำเพียงแค่รอเวลาเพื่อลงทุนให้ได้ตามเกณฑ์ที่กำหนดเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้วนักลงทุนสามารถปรับพอร์ตลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนที่ดีกว่าได้
– สับเปลี่ยน RMF จากบริษัทจัดการแห่งหนึ่งไปยังอีกแห่งหนึ่ง ซึ่งมีข้อแม้ว่าต้องเป็นการย้ายไปในกองทุนที่เป็น RMF ด้วยกันเท่านั้น
– สับเปลี่ยน RMF เพื่อเลือกกองทุนที่มีนโยบายเหมาะสมกับเศรษฐกิจในขณะนั้น เมื่อเวลาผ่านไป นโยบายการลงทุนของ RMF ที่เคยคิดว่าจะสร้างผลตอบแทนที่ดีอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยความไม่แน่นอน จนอาจทำให้ผลตอบแทนที่คาดหวังลดลงได้ ดังนั้น การสับเปลี่ยนกองทุน จึงถือเป็นเคล็ดลับอีกอย่างหนึ่งที่จะช่วยให้โอกาสการสร้างกำไรของ RMF ดีขึ้นได้

เบรกเรื่องทำความเข้าใจสิทธิประโยชน์ RMF ไว้ก่อน

แค่ชีวิตประจำวันก็มีหลายเรื่องที่ต้องจดจำมากแล้ว ดังนั้น หนึ่งในพฤติกรรมของกลุ่มคนที่ไม่สนใจ RMF จึงมักมีคำถามว่า “ทำไมต้องปวดหัวกับสิทธิประโยชน์ของ RMF” ซึ่งดูเหมือนมีรายละเอียดเงื่อนไขเยอะ แต่ในความเป็นจริงแล้ว มีเพียง 2 เรื่องหลักๆ เท่านั้น ที่ต้องเรียนรู้ นั่นก็คือ
– การลดหย่อนภาษี ซึ่งมีหลักเกณฑ์กำหนดไว้ว่าเงินลงทุนใน RMF สามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 15% ของเงินได้ในปีภาษีนั้น และเมื่อรวมเข้ากับเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) และประกันชีวิตแบบบำนาญที่จะต้องไม่เกิน 5 แสนบาท ซึ่งการได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีนี้ ให้นับตามเวลาแบบวันชนวัน ตั้งแต่วันแรกที่เริ่มลงทุน
– กำไรที่ได้จากการขายคืน RMF จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ อย่างไรก็ตามหากลงทุนเกิน 15%ของเงินได้ หรือเกิน 5 แสนบาท เมื่อขายคืนหน่วยลงทุนแล้วมีกำไรจะต้องนำกำไรที่ได้จากการขายคืนหน่วยลงทุน ซึ่งนับเฉพาะเงินลงทุนส่วนที่เกิน ไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วย

RMF เหมาะกับใครไม่เคยแคร์

หลายคนคิดว่า เรื่องออมเงินสำหรับการเกษียณ ไม่ใช่ประเด็นที่จำเป็นต้องใส่ใจนักก็ได้ ทั้งที่ความเป็นจริงแล้ว คุณอาจจะจัดอยู่ในกลุ่มคนดังต่อไปนี้ ที่ต่างก็ต้องใส่ใจเรื่องการออมเงินสำหรับการเกษียณ
– กลุ่มคนต้องการมีเงินเหลือใช้หลังจากที่เกษียณ หรือมีแผนอย่างชัดเจนว่าจะวางมือจากการทำงาน โดยกำหนดอายุเกษียณไว้ในใจ
– ผู้ประกอบอาชีพอิสระ เช่น พ่อค้า แม่ค้า นักแสดง ฟรีแลนซ์ ที่ไม่มีสวัสดิการเงินออมเพื่อรองรับช่วงชีวิตวัยเกษียณ
– ลูกจ้างที่นายจ้างยังไม่พร้อมที่จะจัดให้มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ซึ่งทำให้ขาดเงินทุนก้อนสำคัญ สำหรับใช้จ่ายในบั้นปลายชีวิต
– ลูกจ้างหรือข้าราชการที่มีสวัสดิการออมเงินเพื่อวัยเกษียณอยู่แล้ว แต่ต้องการจะออมเพิ่ม เพื่อใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีให้เต็มวงเงิน 5 แสนบาท ตามที่รัฐบาลสนับสนุน
ดังนั้น หากไม่สำรวจตัวเองให้ดี คุณอาจจะกำลังปิดโอกาสของตัวเองอย่างน่าเสียดายก็ได้

ผู้เชี่ยวชาญการเงินการลงทุน ซ่าอินไทย
Author: ผู้เชี่ยวชาญการเงินการลงทุน ซ่าอินไทย

ติดตามข่าวสารการเงินการลงทุนทุกรูปแบบได้ที่นี่

Share this Article
ติดตามข่าวสารการเงินการลงทุนทุกรูปแบบได้ที่นี่