เจริญโภคภัณฑ์อาหาร CPF โบรกพากันแนะนำ ซื้อ

1 Min Read

CPF : บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) ลักษณะธุรกิจ บริษัทประกอบธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารที่จำแนกธุรกิจหลักตามลักษณะของผลิตภัณฑ์ ออกเป็น 3 ประเภท คือ 1) ธุรกิจอาหารสัตว์ (Feed) ได้แก่ การผลิตและจำหน่ายอาหารสัตว์ 2) ธุรกิจการเลี้ยงสัตว์ (Farm) ได้แก่ การเพาะพันธุ์สัตว์ การเลี้ยงสัตว์เพื่อการค้า และการแปรรูปเนื้อสัตว์ขั้นพื้นฐาน 3) ธุรกิจอาหาร (Food) ได้แก่ การผลิตเนื้อสัตว์แปรรูปกึ่งปรุงสุกและปรุงสุก และการผลิตผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปหรืออาหารพร้อมรับประทาน รวมถึงกิจการค้าปลีกอาหารและร้านอาหาร

ช่วงหนึ่งอาทิตย์ที่ผ่านมา (13 – 17 เม.ย.63) โบรกเกอร์แต่ละสถาบันออกบทวิเคราะห์มาไปในแนวทางเดียวกัน คือแนะนำซื้อ ทั้งปัจจัยที่คาดว่าช่วงไตรมาส 1 ปีนี้นั้น จะได้แรงบวกจากสุกรเวียดนาม ด้านผลกระทบจากปัญหาการระบาดของ COVID-19 กับทาง CPF นั้นคาดว่าในช่วง 2Q20 จะเริ่มเห็นมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นราคาเนื้อสุกรในประเทศที่เริ่มเห็นการชะลอตัวลงบ้างจาก 1Q20 เพราะความต้องการบริโภคที่ลดลง หรือรายได้สินค้ากลุ่มอาหารสำเร็จรูปที่ CPF ขายให้กับลูกค้าในกลุ่ม Horeca ที่ลดลงมาก (แต่รายได้ส่วนดังกล่าวคิดเป็นสัดส่วนเพียง 1-2% ของรายได้ในกลุ่มอาหารในประเทศที่มีสัดส่วนประมาณ 9% ของรายได้รวม) รวมถึงธุรกิจกุ้งที่อาจจะได้รับผลกระทบจากตลาดหลักในสหรัฐฯและยุโรปที่มีการระบาดค่อนข้างรุนแรง แต่สำหรับการส่งออกไปยังต่างประเทศยังไม่เห็นสัญญาณการปรับลดลงแต่อย่างใดในส่วนของการส่งออกไก่ไม่ว่าจะเป็นที่ประเทศจีนที่คำสั่งซื้อจากทาง KFC และ Wall mart ยังคงเป็นไปตามเดิม

บมจ.หลักทรัพย์ คันทรี่ กรุ๊ป ระบุในบทวิเคราะห์ว่า อื่นเนื่องจากเป็นสินค้าที่มีความจำเป็นในชีวิตประจำวัน รวมกับค่าเงินบาทที่อ่อน ค่าลงจะเป็นผลดีกับ CPF ที่มีรายได้จากสกุลต่างประเทศกว่า 60% เราจึงแนะนำ “ซื้อเก็งกำไร” เช่นเดิม โดยประเมินมูลค่าเหมาะสมที่ 32.25 บาท (15XPER’20E) ทั้งนี้ CPF จะมีการจ่ายเงินปันผล จำนวน 0.40 บาท/หุ้น (รวมทั้งปีจ่าย 0.70บาท/หุ้น) XD วันที่ 15 เม.ย. และจ่ายเงินปันผลวันที่ 30 เม.ย.

บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า ระบุในบทวิเคราะห์ว่า COVID-19 ทำให้รัฐบาลทุกประเทศมุ่งเน้นไปที่การฟื ้นฟูเศรษฐกิจและลงทุนกับการหาวัคซีนป้องกันหรือยารักษา ทำให้สรรพกำลังที่มีไปกระจุกตัวที่ COVID-19 เป็ นสิ่งแรก ทำให้การคิดค้นวัคซีนป้ องกัน ASF ในหมูอาจล่าช้าออกไป จากเดิมที่คาดว่าต้องใช้เวลา 5 – 8 ปี ในการหาวัคซีน ทำให้ราคาหมูในตลาดโลกจะยังทรงตัวสูงเพราะการขาดแคลน ซึ่งฟาร์มขนาดใหญ่จะได้ประโยชน์ โดยเฉพาะ CPF มีฟาร์มใหญ่ทั้งในไทยและเวียดนาม และมีบริษัทลูกส่งออกหมูในแคนนาดา ประมาณการกำไร 1Q63 คิดเป็นสัดส่วนถึง 40% ของประมาณการกำไรปกติทั ้งปี ที่ 13,632 ลบ. จึงมีโอกาสปรับประมาณการขึ้น ราคาปัจจุบันซื้อขายด้วย PER63 ต่ำเพียง 15.7เท่า คงคำแนะนำ ซื้อ ราคาเป้าหมาย 34.00 บาท

บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง ระบุในบทวิเคราะห์ว่า คาดกำไรปกติ 1Q63 เติบโตสูงจากราคาหมูในเวียดนามเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญและเริ่มรับรู้ กำไรจาก HyLife ผลประกอบการปี นี้ยังมีแนวโน้มแข็งแกร่งจากราคาหมูในไทยและเวียดนามที่อยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง ขณะที่คาดว่าการระบาดของโควิด-19 มีผลกระทบจำกัด เราคงคำแนะนำ ซื้อ CPF ราคาเป้ำหมาย 35.8 บาท ประกอบด้วย CPF 11.1 บาท ประเมินด้วย PER 15 เท่า (อ้างอิง PER เฉลี่ยย้อนหลัง 3 ปี) และ CPALL 24.7 บาท จาก DCF (WACC 7.2%, LTG 4%)

ผู้เชี่ยวชาญการเงินการลงทุน ซ่าอินไทย
Author: ผู้เชี่ยวชาญการเงินการลงทุน ซ่าอินไทย

ติดตามข่าวสารการเงินการลงทุนทุกรูปแบบได้ที่นี่

Share this Article
ติดตามข่าวสารการเงินการลงทุนทุกรูปแบบได้ที่นี่