จะลงทุนอย่างไร กับช่วงค่าเงินบาทแข็ง และอัตราดอกเบี้ยลดลง

1 Min Read
Macro shot of financial concept

เศรษฐกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มักจะเจอในข่าวเศรษฐกิจคือ ข่าวเกี่ยวกับ อัตราดอกเบี้ย และ ค่าเงินบาท ซึ่งตัวเลขทั้งสองนี้ย่อมส่งผลต่อการวางแผนกลยุทธ์ในการลงทุนให้เกิดความเหมาะสม เมื่ออัตราดอกเบี้ย และค่าเงินบาทมีการขยับขึ้นหรือขยับลงก็ต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ลงทุนให้เข้ากับสถานการณ์ โดยในตลาดหุ้นมีความสัมพันธ์กับค่าเงินอยู่ 2 ส่วนคือ เงินลงทุนจากต่างชาติ และกำไรของบริษัทจดทะเบียน

ค่าเงินบาท อัตราดอกเบี้ย VS เงินลงทุนจากต่างชาติ

เงินลงทุนจากต่างชาติ (Fund Flow) ช่วงที่ค่าเงินบาทแข็งค่า ย่อมเป็นแรงจูงใจให้นักลงทุนต่างชาตินำเงินเข้ามาลงทุน (เกิดการไหลเข้ามาของ Fund Flow) เนื่องจากมองว่าจะได้กำไร 2 ต่อ แต่ต้องมีเงื่อนไขว่าตลาดหุ้นไทยและค่าเงินบาทต้องไปในทิศทางเดียวกัน นั่นคือ หุ้นไทยต้องเป็นขาขึ้นและเงินบาทต้องแข็งค่า

เมื่ออัตราดอกเบี้ยนโยบายปรับลง นักลงทุนควรปรับพอร์ตลงทุนด้วยการเน้นลงทุนหุ้นปันผล (Dividend Stock) และกองทุนทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REITs) เพราะมีอัตราการจ่ายเงินปันผล (Dividend Yield) ที่ค่อนข้างสม่ำเสมอ และราคาผันผวนต่ำ เเพราะมื่ออัตราดอกเบี้ยนโยบายปรับลง ย่อมส่งผลลบต่อดอกเบี้ยเงินฝากและผลตอบแทนจากตราสารหนี้ นักลงทุนจึงมองหาผลตอบแทนที่ดีและสม่ำเสมอ ซึ่งหุ้นที่จ่ายปันผลและ REITs สามารถตอบโจทย์ได้ดีกว่า

ค่าเงินบาท อัตราดอกเบี้ย VS กำไรของบริษัทจดทะเบียน

โดยปกติเมื่อเงินบาทแข็งค่าจะส่งผลต่อผู้ส่งออก เพราะเมื่อนำรายได้สกุลเงินต่างประเทศมาแลกเงินบาท จะได้รับลดน้อยลง

ยกตัวอย่าง วันนี้เงินบาท 32 บาท แลกได้ 1 ดอลลาร์สหรัฐ
– ถ้าใช้เงินบาท 34 บาท แลกได้ 1 ดอลลาร์สหรัฐ แสดงว่าเงินบาท “อ่อนค่า” (ใช้เงินบาทมากขึ้นในการแลกเงินสกุลอื่นในจำนวนเท่าเดิม)
– ถ้าใช้เงินบาท 30 บาท แลกได้ 1 ดอลลาร์สหรัฐ แสดงว่าเงินบาท “แข็งค่า” (ใช้เงินบาทน้อยลงในการแลกเงินสกุลอื่นในจำนวนเท่าเดิม)

ในช่วงที่ความเสี่ยงของตลาดเพิ่มสูงขึ้น (Market Risk) จากความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย ค่าเงิน และความผันผวนของราคาหุ้น แนะนำให้นักลงทุนใช้กลยุทธ์ “Play Safe, Stay Defensive” นั่นคือ เพิ่มความระมัดระวังในการลงทุน

ควรลดน้ำหนักการลงทุนในหุ้นลง หากตลาดมีความเสี่ยงเพิ่มสูงขึ้นก็ต้องลดการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงลง ส่วนหุ้นที่ยังคงอยู่ในพอร์ตต้องทบทวนด้วยการปรับพอร์ตไปเน้นหุ้น Defensive ที่ราคาปรับลดลงน้อยกว่าตลาด, หุ้น Low Beta และหุ้นที่จ่ายเงินปันผลสม่ำเสมอ พูดง่ายๆ ลดการลงทุนในหุ้นที่ได้รับผลกระทบเชิงลบจากดอกเบี้ยลดและเงินบาทแข็ง และเงินลงทุนที่เหลือให้เข้าไปพักไว้ที่กองทุนรวมตลาดเงิน พันธบัตรระยะยาว หรือเงินบางส่วนอาจลงทุนในทองคำ ซึ่งจะเห็นได้ว่าช่วงที่หุ้นมีความผันผวนสูงหรืออยู่ในขาลง ราคาทองคำจะปรับตัวสูงขึ้น

ผู้เชี่ยวชาญการเงินการลงทุน ซ่าอินไทย
Author: ผู้เชี่ยวชาญการเงินการลงทุน ซ่าอินไทย

ติดตามข่าวสารการเงินการลงทุนทุกรูปแบบได้ที่นี่

Share this Article
ติดตามข่าวสารการเงินการลงทุนทุกรูปแบบได้ที่นี่