เอเชีย เอวิเอชั่น ยังมีแรงสู้ไปอีกสักระยะ หวัง COVID-19 คลี่คลาย

1 Min Read

สถานการณ์ทางด้านการเงิน (Liquidity Support) ปัจจุบันเน้นการลด Variable cost (คิดเป็น 70% ของ Total cost) ผ่านนโยบาย Leave without pay ชั่วคราว ล่าสุดมีการเจรจากับเจ้าหนี้ในการผ่อนผันค่าเช่าเครื่องบิน คาดได้ผลตอบรับเชิงบวก รวมถึงมีการเจรจาเลื่อนชำระเงินต้นเงินกู้กับ Bank ซึ่งมีโอกาสสำเร็จสูง ยังมีโอกาสขอ Bank Facility เพื่อเพิ่ม Working Capital ส่งเสริมสภาพคล่องในการดำเนินงานในปี 2563 มีโอกาสในการทำ SLB transaction กับเครื่องบินที่เหลือบางส่วน เป็นทางเลือกในการเพิ่มสภาพคล่องระยะสั้นนอีกเช่นกัน ณ สิ้นปี 2562 D/E ratio อยู่ที่1.3x และผลประกอบการปี 2563 คาดถูกกดดันจากโรคระบาด COVID-19 อย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งจะทำให้อัตราส่วนหนี้สินมีโอกาสปรับตัวขึ้นเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันบริษัทมีเงินสดอยู่ราว 5.0 พันล้านบาท – สามารถครอบคลุมค่าจ่ายได้อย่างน้อย 4-5 เดือน หากปิดเที่ยวบิน 100%

สถานการณ์ปัจจุบัน AAV มีความสามารถรองรับกระแสเงินสดได้อย่างน้อย 4-5 เดือน โดยไม่มีรายได้ดังนั้น หากสถานการณ์ไม่ลากยาว ยังไม่มีความเสี่ยงเพิ่มทุน แนวโน้ มการฟื้นตัวของผลประกอบการขึ้นกับการควบคุมสถานการณ์โรคระบาด และการฟื้นตัวของ นักท่องเที่ยว สมมติฐานของบริษัทฯที่ทยอยฟื้นตัวใน 3Q63 ใกล้เคียงกับสมมติฐานกลุ่มท่องเที่ยว คาดผลประกอบการจะเริ่มอ่อนแอตั้งแต่ 1Q63 เป็ นต้นไป โดยเฉพาะใน 2Q-3Q63 คาดได้รับผลกระทบ เชิงลบจาก COVID-19 มากที่สุด ทำให้ปี 2563 มีโอกาศขาดทุนมากกว่าปีก่อน ราคาปัจจุบันแม้ซื้อขายที่ P/BV ต่ำเพียง0.2xแต่เหมาะส าหรับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้สูงเท่านั้น สำหรับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้ต่ำ แนะนำจับตาดูการฟื้นตัวของนักท่องเที่ยว มาตรการสนับสนุนของภาครัฐต่ออุตสาหกรรมสายการบิน และการกลับมาดำเนินงานบินตามปกติอีก เป็นสัญญาณสำคัญก่อนกลับเข้าลงทุนอีกครั้ง

AAV: บริษัท เอเชียเอวิเอชั่น จำกัด (มหาชน) ธุรกิจในกลุ่มอุตสาหกรรมบริการการขนส่งและการจัดจำหน่ายในวันที่ 31 พ.ค. 53 2555 ที่ราคาสวนสาธารณะ 0.10 บาทบำนาญ 485,000,000 บาทเป็นจำนวนหุ้นจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 4,850,000,000 หุ้นลักษณะธุรกิจประกอบธุรกิจการลงทุนโดยถือหุ้นใน บริษัท อื่น (Holding Company) โดยในปัจจุบัน บริษัท ถือหุ้นใน บริษัท ไทยแอร์เอเชีย จำกัด เพียง บริษัท เอเชียแอร์เอเชีย จำกัด ดำเนินธุรกิจให้บริการสายการบินโดยมีรายได้หลักจากการให้บร การขนส่งผู้โดยสารแบบประจำ (Scheduled บริการผู้โดยสาร) และการให้บริการเสริม (Ancillary Services)

ผู้เชี่ยวชาญการเงินการลงทุน ซ่าอินไทย
Author: ผู้เชี่ยวชาญการเงินการลงทุน ซ่าอินไทย

ติดตามข่าวสารการเงินการลงทุนทุกรูปแบบได้ที่นี่

Share this Article
ติดตามข่าวสารการเงินการลงทุนทุกรูปแบบได้ที่นี่