การหยุดทำการซื้อขายโดยอัตโนมัติเป็นการชั่วคราว “Circuit Breaker” ในตลาดหุ้น

1 Min Read

ท่ามกลางความตึงเครียดในสถานการณ์ของการแพร่ระบาดไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (โควิด-19) ที่ส่งผลอย่างหนักต่อการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ใช้มาตรการ Circuit Breaker หลังดีชนี SET ดิ่งลง ตลาดหุ้นไทยร่วงลง 10% ในช่วงบ่ายวันที่ 12 มีนาคม 2563 เช้าวันที่ 13 มีนาคม 2563 สถานการณ์ก็ยังไม่ดีขึ้นถูกแรงเทขายอีกรอบทันทีที่เปิดตลาด จนต้องประกาศใช้ Circuit Breaker 2 วันติดต่อกันเป็นครั้งแรก

Circuit Breaker หรือการหยุดทำการซื้อขายโดยอัตโนมัติเป็นการชั่วคราว ในตลาดหลักทรัพย์นั้น จะเกิดขึ้นในกรณีที่สภาวะตลาดหุ้นมีความผันผวนรุนแรง และราคาหุ้นรายตัวเปลี่ยนแปลงลดลงมาก เพื่อให้นักลงทุนมีเวลาในการตรวจสอบข้อมูลข่าวสารที่มีผลกระทบต่อการลงทุนอย่างครบถ้วน โดยหลักการทำงานของ Circuit Breaker ก็คือเริ่มจาก

ครั้งที่ 1 เริ่มต้นเมื่อ SET Index เปลี่ยนแปลงลดลงถึง 10% ของค่าดัชนีปิดในวันทำการก่อนหน้านั้น ตลาดหลักทรัพย์จะทำการพักการซื้อขายหลักทรัพย์ทั้งหมดเป็นเวลา 30 นาที
ครั้งที่ 2 เมื่อ SET Index เปลี่ยนแปลงลดลงถึง 20% (ลดลงอีก 10%) ของค่าดัชนีปิดในวันทำการก่อนหน้าตลาดหลักทรัพย์จะพักการซื้อขายหลักทรัพย์ทั้งหมดเป็นเวลา 1 ชั่วโมง

และเมื่อ Circuit Breaker ครั้งที่ 2 ครบแล้วกลับมาเปิดทำการซื้อขายต่อ ก็จะดำเนินการให้ซื้อขายต่อไปเรื่อยๆ นถึงเวลาปิดทำการตามปกติโดยไม่มีการหยุดพักการซื้อขายอีก ซึ่งหากว่า Circuit Breaker ทำงานนั้นเหลือไม่ถึง 30 นาที หรือ 1 ชั่วโมง ก็ให้หยุดพัก การซื้อขายเพียงระยะเวลาที่เหลือในรอบการซื้อขายนั้นแล้วเปิดให้ซื้อขายหลักทรัพย์ได้ตามปกติในรอบ การซื้อขายถัดไป ซึ่งทั้งนี้ อาจมีบางช่วงเวลาที่หลักทรัพย์ที่มีสินทรัพย์อ้างอิงต่างประเทศ (Cross-border Products) อาจเปิดซื้อขายไม่ตรงกันกับหลักทรัพย์อื่นๆ เนื่องจากไม่มีช่วงเวลาพักการซื้อขายระหว่างวัน (Non intermission)

เมื่อนับมาตั้งแต่ปี 2518 ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมีการใช้มาตรฐาน Circuit Breaker มาแล้วถึง 5 ครั้งด้วยกัน
ครั้งที่ 1 วันที่ 19 ธันวาคม 2549 ที่มาจากผลกระทบของมาตรการสำรอง 30% เพื่อป้องกันการเก็งกำไรค่าเงินบาท ทำให้นักลงทุนต่างชาติพากันเทขายหุ้นเป็นจำนวนมาก
ครั้งที่ 2 วันที่ 10 ตุลาคม 2551 ถูกถล่มขายอย่างหนักจากวิกฤตซับไพรม์หรือวิกฤตเศรษฐกิจแฮมเบอร์เกอร์ จากภาวะฟองสบู่ของตลาดอสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐอเมริกา
ครั้งที่ 3 วันที่ 27 ตุลาคม 2551 ผลต่อเนื่องมาจากครั้งที่ 2
ครั้งที่ 4 วันที่ 12 มีนาคม 2563 ปัจจัยลบจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว แถมการระบาดของโควิด 19
และล่าสุดครั้งที่ 5 วันที่ 13 มีนาคม 2563 การถล่มขายอย่างต่อเนื่องจากการแพนิคในวันก่อนหน้าและสถานการณ์โรค COVID-19

ผู้เชี่ยวชาญการเงินการลงทุน ซ่าอินไทย
Author: ผู้เชี่ยวชาญการเงินการลงทุน ซ่าอินไทย

ติดตามข่าวสารการเงินการลงทุนทุกรูปแบบได้ที่นี่

Share this Article
ติดตามข่าวสารการเงินการลงทุนทุกรูปแบบได้ที่นี่