ความรู้การลงทุน แนะนำ กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน InfrastructureFund หรือ IFF

0 Min Read

กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน InfrastructureFund หรือ IFF  เป็นกองทุนรวมที่ลงทุนในกิจการโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นประโยชน์สาธารณะของประเทศเช่นระบบขนส่งทางรางหรือทางท่อไฟฟ้าประปาถนนทางพิเศษสนามบินท่าเรือน้ำลึก ฯลฯ

ผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่สามารถนำมาใช้ในการระดมทุนเพื่อไปลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน อันจะช่วยลดภาระด้านงบประมาณและการก่อหนี้สาธารณะของรัฐ และเพิ่มทางเลือกของแหล่งเงินทุนให้ทั้งรัฐและเอกชน โดยกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานจะได้รับผลตอบแทนจากกิจการโครงสร้างพื้นฐานที่ไปลงทุนและจ่ายส่วนแบ่งกำไรแก่ผู้ลงทุน กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน มีวัตถุประสงค์ที่จะให้เป็นทางเลือกของรัฐหรือเอกชนในการระดมเงินเพื่อนำไปพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานใหม่ๆ และเปิดโอกาสให้ผู้ลงทุนทั่วไปมีทางเลือกในการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน

ข้อดีของการลงทุนในกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน InfrastructureFund หรือ IFF 

เป็นแหล่งรายได้ประจำ โครงการที่มีผลประกอบการชัดเจนและไม่ค่อยผันผวนจะเหมาะกับการลงทุนระยะยาวเพื่อรับเงินปันผลต่อเนื่อง
มีทางเลือกหลากหลายในแง่ของผลตอบแทนและความเสี่ยงกิจการโครงสร้างพื้นฐานอาจจะเป็นของภาครัฐหรือภาคเอกชน จึงมีที่มาของรายได้ที่หลากหลาย
มีสภาพคล่องในการซื้อขายสูง เนื่องจากโครงสร้างพื้นฐานโดยทั่วไปมีมูลค่าการลงทุนค่อนข้างสูงขนาดกองทุนค่อนข้างใหญ่ทำให้ส่วนมากมีสภาพคล่องดีกว่ากองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์
ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีผู้ลงทุนจะได้รับยกเว้นภาษีเงินปันผลเป็นเวลา 10 ปีนับตั้งแต่ตั้งกองทุนฯ

ผลตอบแทนของการลงทุนใน IFF

เงินปันผล บลจ. ต้องจ่ายเงินปันผลไม่ต่ำกว่า 90% ของกำไรสุทธิที่ปรับปรุงแล้ว อย่างน้อยปีละครั้ง โดยทั่วไป ผู้ลงทุนจะได้รับเงินปันผลสูงกว่าดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาล การเพิ่มขึ้น / ลดลงของมูลค่าหน่วยลงทุน
มีโอกาสได้รับกำไร / ขาดทุน จากส่วนต่างราคาที่ซื้อขาย มูลค่าหน่วยลงทุนขึ้นอยู่กับผลการดำเนินงานของกองทุนและสภาวะตลาด

ความเสี่ยงจากการลงทุนใน IFF

– ประเภทของกิจการที่ลงทุน เพราะมีความเสี่ยงเรื่องการสร้างรายได้และให้ผลตอบแทนที่ต่างกัน
– ความคืบหน้าการก่อสร้างโครงการ หากโครงการยังไม่แล้วเสร็จ ก็อาจเกิดความล่าช้าและอาจทำให้มีต้นทุนมากขึ้น
– สภาพคล่องในการซื้อขายและราคาหน่วยลงทุนที่ลดลง ตามกลไกตลาด ภาวะเศรษฐกิจแนวโน้มอุตสาหกรรม ฯลฯ
– ปัจจัยอื่นๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี การแข่งขัน การเสื่อมสภาพของทรัพย์สินการกระจุกตัวของทรัพย์สินที่ลงทุน ฯลฯ

 

ผู้เชี่ยวชาญการเงินการลงทุน ซ่าอินไทย
Author: ผู้เชี่ยวชาญการเงินการลงทุน ซ่าอินไทย

ติดตามข่าวสารการเงินการลงทุนทุกรูปแบบได้ที่นี่

Share this Article
ติดตามข่าวสารการเงินการลงทุนทุกรูปแบบได้ที่นี่