ภาพรวมตลาดหุ้นไทย ปิดปลายสัปดาห์ 27 ธ.ค.62 และทิศทาง 2563

2 Min Read

ดัชนีตลาดหุ้นไทยมีการปิดใกล้เคียงกับสัปดาห์ก่อนที่ระดับ 1,578.22 จุด เพิ่มขึ้น 0.34% จากสัปดาห์ก่อน ขณะที่ มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันลดลง 39.41% จากสัปดาห์ก่อน มาที่ 34,435.49 ล้านบาท ส่วนตลาดหลักทรัพย์ mai ลดลง 0.78% จากสัปดาห์ก่อน มาปิดที่ 308.06 จุด

5 หลักทรัพย์ที่มีมูลค่าซื้อขายสูงสุดเมื่อปิดสัปดาห์
PTT – บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) มูลค่าซื้อขาย 2,443,391.38  (‘000 บาท)
AOT – บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) มูลค่าซื้อขาย 1,682,752.95 (‘000 บาท)
BBL – ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)มูลค่าซื้อขาย 1,328,058.60 (‘000 บาท)
CPALL – บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) มูลค่าซื้อขาย 1,311,114.02 (‘000 บาท)
GULF – บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) มูลค่าซื้อขาย 1,286,315.20 (‘000 บาท)

5 หลักทรัพย์ที่มีปริมาณซื้อขายเมื่อปิดสัปดาห์
TMB – ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) ปริมาณซื้อขาย 189,123,200 หุ้น
TRUE – บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ปริมาณซื้อขาย123,747,200 หุ้น
AQUA – บริษัท อควา คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ปริมาณซื้อขาย 120,153,300 หุ้น
IRPC – บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) ปริมาณซื้อขาย 81,295,100 หุ้น
SUPER – บริษัท ซุปเปอร์ เอนเนอร์ยี คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ปริมาณซื้อขาย 62,650,100 หุ้น

5 หลักทรัพย์ที่มีราคาหุ้นเพิ่มขึ้นเมื่อปิดสัปดาห์
MAX – บริษัท แมกซ์ เมทัล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ราคาล่าสุด 0.02 บาท
TFI – บริษัท ไทยฟิล์มอินดัสตรี่ จำกัด (มหาชน) ราคาล่าสุด 0.09 บาท
TGPRO – บริษัท ไทย-เยอรมัน โปรดักส์ จำกัด (มหาชน) ราคาล่าสุด 0.07 บาท
F&D – บริษัท ฟู้ดแอนด์ดริ๊งส์ จำกัด (มหาชน) ราคาล่าสุด 19.70 บาท
AEC – บริษัทหลักทรัพย์ เออีซี จำกัด (มหาชน) ราคาล่าสุด 0.35 บาท

มุมมองด้านเงินบาท ท่ามกลางแรงขายเงินดอลลาร์ฯ หลังข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาอ่อนแอกว่าที่ตลาดคาด อาทิ ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนและยอดขายบ้านใหม่ อย่างไรก็ดี กรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทยังค่อนข้างแคบ ขณะที่บรรยากาศการซื้อขายเริ่มเบาบาง เนื่องจากเข้าใกล้ช่วงวันหยุดของเทศกาลปลายปี (27 ธ.ค.) เงินบาทอยู่ที่ 30.15 บาทต่อดอลลาร์ฯ เทียบกับระดับ 30.18 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในวัน (20 ธ.ค.) ศุกร์ก่อนหน้า

ปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตามสำหรับสถานการณ์ในสัปดาห์ต่อไป ได้แก่ รายงานภาวะเศรษฐกิจไทยเดือน พศจิกายน ของธนาคารแห่งประเทศไทย รวมถึงความคืบหน้าประเด็นการลงนามข้อตกลงการค้าเฟสแรกระหว่างสหรัฐฯ-จีน ส่วนข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ดัชนีที่ใช้เป็นตัวบ่งชี้สภาวะทางเศรษฐกิจของภาคการผลิตและบริการ หรือดัชนี PMI ภาคการผลิตเดือนธันวาคม ขณะที่ ปัจจัยต่างประเทศที่สำคัญอื่นๆ ได้แก่ ดัชนี PMI ภาคการผลิตเดือนธ.ค.ของจีนและยูโรโซน

มองไปที่ทิศทางในปี 2563 การลงทุนยังคงมีความเสี่ยงอันอาจจะเกิดขึ้นควบคู่กันไปเสมอ โดยในปีหน้ามีปัจจัยเสี่ยงที่ต้องระวังและติดตาม ได้แก่ การเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐฯ ที่จะเกิดขึ้นในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2563 ซึ่งมีโอกาสสร้างความผันผวนให้กับตลาดหุ้นทั่วโลกได้ ความขัดแย้งระหว่างประเทศตะวันออกกลางซึ่งจะส่งผลต่อราคาน้ำมัน การเจรจาทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน รวมถึงทิศทางการดำเนินนโยบายทางการเงินของธนาคารกลางประเทศต่างๆ

ผู้เชี่ยวชาญการเงินการลงทุน ซ่าอินไทย
Author: ผู้เชี่ยวชาญการเงินการลงทุน ซ่าอินไทย

ติดตามข่าวสารการเงินการลงทุนทุกรูปแบบได้ที่นี่

Share this Article
ติดตามข่าวสารการเงินการลงทุนทุกรูปแบบได้ที่นี่